ขอให้ผู้ใฝ่ธรรมทุกท่านมีความสุขกายสุขใจเถิด

ศาสนพิธี เข้าพรรษา

เข้าพรรษา
พระภิกษุทุกรูปรวมทั้งพระอาคันตุกะต้องประชุมพร้อมกันในเขตสีมา พระเถระนำบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วภิกษุทุกรูปกราบประธานสงฆ์ จากนั้น นั่งพับเพียบพระเถระอธิบายเรื่อง การเข้าพรรษาโดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึง
- การบอกเขตอาวาสทั้ง ๔ ทิศ
- การรับอรุณ
- การครองผ้า
- การสัตตาหะ
- ระเบียบวัด หรือกติกาอื่น ๆ ที่ควรรู้
จากนั้นให้อธิษฐานพรรษา โดยเริ่มตั้งแต่พระเถระก่อน ดังนี้

คำอธิษฐานพรรษา
อิมัส๎มิง อาวาเส, อิมัง เตมาสัง, วัสสัง อุเปมิ.
ข้าพเจ้าขออธิษฐานจำพรรษาอยู่ในอาวาสนี้ ตลอด ๓ เดือน
( กล่าว ๓ หน)
คำขอขมา
พระลูกวัดกล่าว ๐
เถเร ปะมาเทนะ ท๎วารัตตะเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต.
โทษทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เพราะความประมาทในท่าน ขอท่านจงงดโทษนั้นให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ.

พระเถระกล่าว ๐
อะหัง ขะมามิ, ตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง.
ข้าพเจ้างดโทษให้ แม้เธอทั้งหลายก็จงงดโทษให้ข้าพเจ้าด้วย

พระลูกวัดกล่าว ๐
ขะมามะ ภันเต. ข้าพเจ้างดโทษให้ขอรับ.


คำขอนิสัย
(แปลว่ากิริยาที่พึ่งพิง)
ภิกษุผู้พึ่งอุปัชฌาย์ได้ชื่อว่า สัทธิวิหาริ แปลว่า ผู้อยู่ด้วย
ภิกษุผู้อาศัยอาจารย์ชื่อว่า อันเตวาสิก แปลว่า ผู้อยู่ในสำนักฯ
ภิกษุที่ควรต้องถือนิสัยคือภิกษุมีพรรษาหย่อน ๕ หรือพ้นแล้วแต่ไม่รู้พระธรรมวินัยพอจะรักษาตัวได้และ พระภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงโทษโดยฐานนิยสกรรม(ถอดยศ)

พระลูกวัดกล่าว ๐
อาจะริโย เม ภันเต โหหิ, อายัส๎มันโต นิสสายะ วัจฉามิ.
ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะอยู่อาศัยท่าน (กล่าว ๓ หน)
พระเถระกล่าว      โอปายิกัง. ชอบด้วยอุบายแล้ว
พระลูกวัดกล่าว    สาธุ ภันเต, ดีแล้วขอรับ,;
พระเถระกล่าว      ปะฏิรูปัง. ชอบด้วยอุบายแล้ว,;
พระลูกวัดกล่าว    สาธุ ภันเต, ดีแล้วขอรับ,;
พระเถระกล่าว      ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ,จงทำกิริยาน่าเลื่อมใสไปเถิด
ระลูกวัดกล่าว    สาธุ ภันเต. ดีแล้วขอรับ.

คำรับเป็นธุระ
พระลูกวัดกล่าว ๐
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร.
ตั้งแต่วันนี้ไป พระเถระย่อมเป็นภาระของข้าพเจ้า, แม้ข้าพเจ้าก็ย่อมเป็นภาระของพระเถระ, (กล่าว ๓ หน)
พระผู้นำลูกวัด เดินเข่าไปประเคนพานเครื่องสักการะ จากนั้นพระลูกวัดทั้งหมดกราบพระเถระพร้อมกันอีก ๓ ครั้ง
พระเถระให้โอวาทตามสมควร.

คำสัตตาหะ
สัตตาหะกะระณียัง กิจจัง เม อัตถิ, ตัส๎มา มะยา คันตัพพัง, อิมัส๎มิง สัตตาหัพภันตะเร นิวัตติสสามิ.
กิจธุระที่ควรทำใน ๗ วันมีแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงไปข้าพเจ้าจะกลับมาภายใน ๗ วัน
( คำว่า กลับมาภายใน ๗ วัน คือ ต้องกลับมารับอรุณที่ ๗ ในวัดที่ตนอยู่จำพรรษา จะไปพักแรม ครบ ๗ วัน แล้วกลับมารับอรุณที่ ๘ ไม่ได้.)


คำทำสามีจิกรรม
ในช่วง ๗ วันแรกของการเข้าพรรษา มีธรรมเนียมของสงฆ์อย่างหนึ่งที่จะทำสามีจิกรรมต่อพระเถระที่อยู่ต่างวัดในละแวกใกล้เคียง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อความสามัคคีกันในหมู่สงฆ์ มีลำดับขั้นตอนดังนี้
๑. จัดเครื่องสักการะ มักใช้ธูปเทียนแพ มีกระทงดอกไม้ วางบนแพธูปเทียน หรือ จะใช้ดอกไม้ธูปเทียนในลักษณะอื่นสุดแต่จะจัดได้
๒. ครองผ้าให้เรียบร้อย ถ้าเป็นพระภิกษุให้พาดสังฆาฏิด้วย
๓. ถือพานด้วยสองมือ เข้าไปหาพระเถระคุกเข่าลง วางพาน แล้วกราบ ๓ ครั้ง ยกพานขึ้นประคองระดับอก นิยมกล่าวพร้อมกันว่า
อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ,;

๐ ถ้าไปพร้อมกันหลายรูป ให้กล่าวต่อดังนี้
ผู้ขอขมา ๐ เถเร ปะมาเทนะ ท๎วารัตตะเยนะ กะตัง , สัพพังอะปะราธัง, ขะมะตุ โน ภันเต.

พระเถระ ๐ อะหัง ขะมามิ, ตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง.

ผู้ขอขมา ๐ ขะมามะ ภันเต.

๐ ถ้าไปรูปเดียว ให้กล่าวต่อดังนี้
ผู้ขอขมา ๐ เถเร ปะมาเทนะ ท๎วารัตตะเยนะ กะตัง, สัพพังอะปะราธัง, ขะมะถะ เม ภันเต.

พระเถระ ๐ อะหัง ขะมามิ, ตะยาปิ เม ขะมิตัพพัง.

ผู้ขอขมา  ขะมามิ ภันเต.

๔. น้อมพานเครื่องสักการะเข้าไปประเคน และกราบ ๓ ครั้ง ถ้าพระเถระจะเมตตาให้พร หรือให้โอวาท พึงนั่งพับเพียบประนมมือฟัง ในอาการสำรวม.

ปวารณาพรรษา
ในวันออกพรรษา (เพ็ญเดือน ๑๑) มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุทำปวารณาแทนอุโบสถ ถ้าภิกษุไข้ไม่สามารถมาร่วมพิธีได้ ให้มอบปวารณาแก่ภิกษุอื่น


วิธีพินทุ
ภิกษุผู้ได้จีวรใหม่ ต้องทำเครื่องหมายก่อนจึงนุ่งห่มได้ โดยทำเป็นจุดกลม ไม่เล็กกว่าหลังตัวเรือด ไม่ใหญ่กว่าแววตานกยูง ที่มุมใดมุมหนึ่งบนผ้า ด้วยสีเขียว(คราม) หรือสีโคลน หรือสีดำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ เป็นตัวอักษรก็ได้ ในขณะทำเครื่องหมายให้กล่าวคำพินทุดังนี้

คำพินทุ
อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ.
ข้าพเจ้าขอทำเครื่องหมายผ้าผืนนี้.

คำอธิษฐานบริขาร (ในหัตถบาส)
สังฆาฏิ      อิมัง สังฆาฏิง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าสังฆาฏิผืนนี้.
จีวร          อิมัง อุตตะราสังคัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าจีวรผืนนี้.
สบง         อิมัง อันตะระวาสะกัง อะธิฏ ฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าสบงผืนนี้.
บาตร        อิมัง ปัตตัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนี้
ผ้าปูนั่ง      อิมัง นิสีทะนัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปูนั่งผืนนี้.
ผ้าปิดฝี      อิมัง กัณฑุปะฏิจฉาทิง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปิดฝีผืนนี้.
ผ้าอาบน้ำฝน ๐ อิมัง วัสสิกะสาฏิกัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้.
ผ้าปูนอน (ผืนเดียว) ๐ อิมัง ปัจจัตถะระณัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปูนอนผืนนี้.
(หลายผืน)   อิมานิ ปัจจัตถะระณานิ อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปูนอนเหล่านี้.
ผ้าเช็ดหน้า, ผ้าเช็ดปาก
(ผืนเดียว)    อิมัง มุขะปุญฉะนะโจลัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าเช็ดหน้าผืนนี้.
(หลายผืน)   อิมานิ มุขะปุญฉะนะโจลานิ อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าเช็ดหน้าเหล่านี้.
ผ้าบริขาร (เช่น ผ้ากรองน้ำ ถุงบาตร ย่าม ผ้าห่อของ)
(ผืนเดียว)    อิมัง ปะริกขาระโจลัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าบริขารผืนนี้.
(หลายผืน)   อิมานิ ปะริขาระโจลานิ อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าบริขารเหล่านี้.

คำถอนอธิษฐาน
สังฆาฏิ   อิมัง สังฆาฏิง* ปัจจุทธะรามิ. ข้าพเจ้ายกเลิกผ้า สังฆาฏิ* ผืนนี้.
*ของบริขารอื่นๆ พึงเปลี่ยนตามชื่อ (โดยเทียบกับคำอธิษฐาน)

คำวิกัป
วิกัป คือ การทำให้เป็น ๒ เจ้าของ ทำได้ ๒ แบบ คือ
๑. วิกัปต่อหน้า คือ วิกัปต่อหน้าผู้รับ
๒. วิกัปลับหลัง คือ วิกัปให้สหธรรมิกรูปใดรูปหนึ่งที่ไม่ได้อยู่ในที่นั้น โดยเปล่งวาจาต่อหน้าสหธรรมิกรูปอื่น

คำวิกัปต่อหน้า (ในหัตถบาส)
จีวร
(ผืนเดียว)   อิมัง* จีวะรัง ตุย๎หัง วิกัปเปมิ. ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
(หลายผืน)   อิมานิ* จีวะรานิ ตุย๎หัง วิกัปเปมิ.ข้าพเจ้าวิกัปจีวรทั้งหลายเหล่านี้แก่ท่าน.
บาตร
(ใบเดียว)    อิมัง* ปัตตัง ตุย๎หัง วิกัปเปมิ. ข้าพเจ้าวิกัปบาตรใบนี้แก่ท่าน.
(หลายใบ)   อิเม* ปัตเต ตุย๎หัง วิกัปเปมิ. ข้าพเจ้าวิกัปบาตรเหล่านี้แก่ท่าน.

คำวิกัปลับหลัง (ในหัตถบาส)
ให้ผู้แก่พรรษากว่า
๐ อิมัง* จีวะรัง อายัส๎มะโต อุตตะรัสสะ** วิกัปเปมิ.
ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่านอุตฺตโร**.
*ถ้าของอยู่นอกหัตถบาส ให้เปลี่ยน อิมัง เป็น เอตัง, อิมานิ เป็น เอตานิ, อิเม เป็น เอเต,
**ชื่อนี้ ให้เปลี่ยนตามชื่อสหธรรมิกที่ต้องการวิกัปให้.
ให้ผู้อ่อนพรรษากว่า
อิมัง* จีวะรัง อุตตะรัสสะ** ภิกขุโน วิกัปเปมิ. ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่านอุตฺตโร**.
จีวรหลายผืนบาตรใบเดียว และบาตรหลายใบ
ถ้าต้องการวิกัปลับหลังทั้งในหัตถบาส และนอกหัตถบาส พึงเทียบตามแบบวิกัปต่อหน้า
จีวรที่วิกัปไว้แล้ว เก็บไว้ได้ แต่ไม่ควรใช้สอย ไม่ควรสละ ไม่ควรอธิษฐาน ถ้าภิกษุรูปใดนำมาใช้โดยที่สหธรรมมิก ผู้รับวิกัปนั้นไม่ถอนเสียก่อน เป็นอาบัติปาจิตตีย์

คำถอนวิกัป
ผู้ถอนแก่พรรษากว่า
อิมัง* จีวะรัง มัย๎หัง สันตะกัง ปะริภุญชะวา วิสัชเชถะหิ วา ยะถาปัจจะยังวา วา กะโรหิ.
จีวร ผืนนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงสละก็ตาม หรือทำตามเหตุที่สมควรก็ตามเทอญ.
ผู้ถอนอ่อนพรรษากว่า
อิมัง* จีวะรัง มัย๎หัง สันตะกัง ปะริภุญชะถะ วา วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยังวา วา กะโรถะ.
จีวร ผืนนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงสละก็ตาม หรือทำตามเหตุที่สมควรก็ตามเทอญ.

คำสละสิ่งของที่เป็นนิสสัคคีย์
อดิเรกจีวรที่เก็บไว้เกิน ๑๐ วัน
ผืนเดียว ๐ อิทัง* เม ภันเต จีวะรัง ทะสาหาติกกันตัง นิสสัคคิยานัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าเก็บไว้เกิน ๑๐ วัน จำสละข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.
(* ผู้แก่พรรษากว่าเปลี่ยน ภันเตเป็น อาวุโส”, เปลี่ยนท่านเจ้าข้าเป็น ท่าน”)
ตั้งแต่ ๒ ผืนขึ้นไป ๐ อิมานิ เม ภันเต* จีวะรานิ ทะสาหาติกกันตานิ นิสสัคคิยัง, อิมานาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า*  จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าเก็บไว้เกิน ๑๐ วัน จำสละข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.

จีวรที่ขาดครองล่วงราตรี
ผืนเดียว ๐ อิทัง เม ภันเต* จีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง (อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา)  นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าขาดครองแล้วล่วงราตรี จำจะสละ (เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ) ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.
สองผืน ๐ อิมานิ เม ภันเต* ท๎วิจีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง (อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา) นิสสัคคิยัง, อิมานาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* จีวร ๒ ผืนนี้ของข้าพเจ้าขาดครองแล้วล่วงราตรี จำจะสละ (เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ) ข้าพเจ้าสละจีวร ๒ ผืนนี้ให้แก่ท่าน.
สามผืน ๐ อิมานิ เม ภันเต* ติจีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง (อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา) นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* จีวร ๓ ผืน นี้ของข้าพเจ้าขาดครองแล้วล่วงราตรี จำจะสละ (เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ) ข้าพเจ้าสละจีวร ๓ ผืนนี้ให้แก่ท่าน.
(* ผู้แก่พรรษากว่าเปลี่ยน ภันเตเป็น อาวุโส”, เปลี่ยน ท่านเจ้าข้าเป็น ท่าน”)



อกาลจีวรที่เก็บไว้เกิน ๑ เดือน
อิทัง เม ภันเต* อะกาละจีวะรัง มาสาติกกันตัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าเก็บไว้เกิน ๑ เดือน จำจะสละ , ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.

จีวรที่ขอต่อคฤหบดีผู้ไม่ใช่ญาติ
อิทัง เม ภันเต* จีวะรัง อัญญะกัง คะหะปะติกัง (อัญญัต๎ระ สะมะยา) วิญญาปิตัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าขอแล้วต่อคฤหบดีผู้ไม่ใช่ญาติ (เว้นแต่สมัย) จำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.

จีวรที่เข้าไปสั่งโดยที่เขายังไม่ได้ปวารณา
อิทัง เม ภันเต* จีวะรัง ปุพเพ อัปปะวาริเตนะอัญญาตะกัง คะหะปะติกัง อุปะสังกะมิต๎วา จีวะเร วิกัปปังอาปันนัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาคฤหบดีผู้ไม่ใช่ญาติ ถึงกาลกำหนดจีวร จำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.

จีวรที่ทวงเกินกำหนด
อิทัง เม ภันเต* จีวะรัง อะติเรกะติกขัตตุง โจทะนายะ อะติเรกะฉักขัตตุง ฐาเนนะ อะภินิปผาทิตัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า*  จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยการทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง จำจะสละ ,ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.

รูปิยะ คือ เงิน ทอง (ต้องสละในสงฆ์)
อะหัง ภันเต* รูปิยะ ปฏิคคะเหสิง, อิทัง เม นิสสัคคิยัง, อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า*  ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว ของนี้เป็นนิสสัคคีย์,ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์.



ของที่แลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ(ต้องสละในสงฆ์)
อะหัง  ภันเต*  นานัปปะการะกัง รูปิยะสังโวหารัง สะมาปัชชิง, อิทัง เม นิสสัคคิยัง, อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* ข้าพเจ้าได้ทำการแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ ของสิ่งเหล่านี้ของข้าพเจ้า จำจะสละ, ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์.

ของที่ซื้อขายมา
อะหัง ภันเต* นานัปปะการะกัง กะยะวิกกะยัง สะมาปัชชิง, อิทัง เม นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า*  ข้าพเจ้าได้ทำการซื้อขายมีประการต่างๆของสิ่งเหล่านี้ของข้าพเจ้า จำจะสละ ,ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้ แก่ท่าน.

บาตรที่ขอใหม่
โดยบาตรเดิมมีแผลน้อยกว่า ๕ แห่ง (ต้องสละในสงฆ์)
อะหัง เม ภันเต* ปัตโต อูนะปัญจะพันธะเนนะ ปัตเตนะ เจตาปิโต นิสสัคคิโย, อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า โดยบาตรเดิมมีแผลน้อยกว่า ๕ แห่ง ให้จ่ายมาแล้ว จำจะสละ, ข้าพเจ้าสละบาตรนี้แก่สงฆ์.

เภสัชที่เก็บไว้เกิน ๗ วัน
อิทัง เม ภันเต* เภสัชชัง สัตตาหาติกกันตัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* เภสัชนี้ของข้าพเจ้าเก็บไว้เกิน ๗ วัน จำจะสละ,ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่าน.

จีวรที่ให้แล้วชิงคืน
อิทัง เม ภันเต* จีวะรัง ภิกขุสสะ สามัง ทัต๎วา อัจฉินนัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุเองแล้วชิงเอามา จำจะสละ ,ข้าพเจ้าสละจีวรนี้แก่ท่าน.

ลาภของสงฆ์ที่น้อมมาเพื่อตน
อิทัง เม ภันเต* ชานัง สังฆิกัง ลาภัง ปะริณะตัง อัตตะโน ปะริณามิตัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.
ท่านเจ้าข้า* ลาภนี้เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้อยู่น้อมมาเพื่อตน จำจะสละ ,ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่ท่าน.

(เมื่อสละสิ่งของที่เป็น นิสสัคคีย์ แล้วพึงแสดงอาบัติ ผู้รับของและรับการแสดงอาบัติแล้ว พึงคืนสิ่งของให้แก่พระภิกษุนั้น ยกเว้นรูปิยะ ต้องสละทิ้งเลย.)
(* ผู้แก่พรรษากว่าเปลี่ยน ภันเตเป็น อาวุโส”, เปลี่ยนท่านเจ้าข้าเป็น ท่าน”)

คำคืนสิ่งของที่สละแล้ว
จีวรผืนเดียว ๐ อิมัง จีวะรัง อายัส๎มะโต ทัมมิ, ข้าพเจ้าถวายผ้าจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
จีวรหลายผืน ๐ อิมานิ จีวะรานิ อายัส๎มะโต ทัมมิ, ข้าพเจ้าถวายผ้าจีวรเหล่านี้แก่ท่าน.
บาตร ๐ อิมัง ปัตตัง อายัส๎มะโต ทัมมิ, ข้าพเจ้าถวายบาตรนี้แก่ท่าน.
เภสัช ๐ อิมัง เภสัชชัง อายัส๎มะโต ทัมมิ, ข้าพเจ้าถวายเภสัชนี้แก่ท่าน.
(สิ่งของที่เป็นนิสสัคคีย์ ถ้ายังไม่ได้สละ หากนำไปใช้ต้องอาบัติทุกกฎ สำหรับบริขารที่สละแล้วได้คืนมา ให้อธิษฐานแล้วได้คืนมาให้อธิษฐานใหม่จึงใช้ได้.)

การแสดงอาบัติ
๑. ผู้ต้องอาบัติ ปาราชิก ควรปฏิญญา (รับความจริง) แล้วลาสิกขาไปเสีย
๒. ผู้ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องประพฤติวุฏฐานวิธี ตั้งแต่ต้นจนถึงอัพภาน
อาบัตินอกจากนี้ เป็นลหุกาบัติ คืออาบัติเบา ซึ่งผู้ต้องลหุกาบัติต้องเปิดเผยโทษของตนแก่ภิกษุอื่นทันทีที่ระลึกได้ เมื่อโอกาสอำนวย( ไม่ต้องรอถึง วันอุโบสถ)
๓. ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ให้สละสิ่งของอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้นก่อน

คำแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ต้องอาบัติมา พึงเปิดเผยกับภิกษุที่ตนปลงอาบัติว่าตนเองไปต้องอาบัติอะไรมาเป็นภาษาไทยก่อนให้รู้เรื่อง แล้วจึงแสดงเป็นบาลีทีหลัง

สำหรับผู้มีพรรษาอ่อนกว่า
ผู้แสดง ๐ สัพพาตา อาปัตติโย อาโรเจมิ  (๓ หน)
ขอแจ้งให้ทราบว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว.
สัพพา(คะรุ)ละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (๓ หน)
อาบัติเหล่านั้น เป็นอาบัติ(หนัก)เบา หลายตัว.
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย อาปัชชิงตา ตุม๎หะ มูเลปะฏิเทเสมิ,
ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว ต่างวัตถุกัน  ข้าพเจ้าขอแสดงอาบัตินั้น.
ผู้รับ ๐ ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย, เธอเห็น (อาบัตินั้น) หรือ ?
ผู้แสดง ๐ อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ, ใช่! ข้าพเจ้าเห็น.
ผู้รับ ๐ อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ, เธอพึงสำรวมระวังต่อไป.
ผู้แสดง ๐ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, ดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สองดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สามดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง กะริสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมกายไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ  ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง ภาสิสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมวาจาไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ  ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง จินตะยิสสามิ. นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมใจไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ  ดีแล้ว

สำหรับผู้มีพรรษาแก่กว่า
ผู้แสดง ๐ สัพพาตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
ขอแจ้งให้ทราบว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว.
สัพพา(คะรุ)ละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
อาบัติเหล่านั้น เป็นอาบัติ(หนัก)เบา หลายตัว.
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิงตา ตุย๎หะ มูเลปะฏิเทเสมิ,
ข้าพเจ้าต้องอาบัติหลายตัว ต่างวัตถุกัน, ข้าพเจ้าขอแสดงอาบัตินั้น.
ผู้รับ ๐ อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย เธอเห็น(อาบัตินั้น)หรือ ?
ผู้แสดง ๐ อามะ อาวุโส ปัสสามิ, ใช่! ข้าพเจ้าเห็น.
ผู้รับ ๐ อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ, เธอพึงสำรวมระวังต่อไป.
ผู้แสดง ๐ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, ดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สองดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ, แม้วาระที่สามดีแล้วท่าน! ข้าพเจ้าจะสำรวมไว้ด้วยดี.
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง กะริสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมกายไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ  ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง ภาสิสสามิ, นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมวาจาไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ  ดีแล้ว
ผู้แสดง ๐ นะปุเนวัง จินตะยิสสามิ. นับตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมใจไว้ด้วยดี.
ผู้รับ ๐ สาธุ  ดีแล้ว

สภาคาบัติ
สภาคาบัติ แปลว่า อาบัติที่มีวัตถุเสมอกัน เช่น ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารในเวลาวิกาลเหมือนกัน อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะความผิดเดียวกันอย่างนี้ เรียกว่า สภาคาบัติ
ภิกษุที่ต้องสภาคาบัติ ไม่พึงแสดงและรับการแสดงอาบัติกันและกัน มิฉะนั้นจะต้องอาบัติทุกกฏทั้งผู้แสดงและผู้รับ
ในกรณีที่สงฆ์ในอาวาสนั้นต้องสภาคาบัติทั้งหมด ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยังอาวาสใกล้เคียง เพื่อทำคืนอาบัติ เมื่อภิกษุนั้นกลับมาแล้ว จึงให้ภิกษุที่เหลือทั้งหมดทำคืนอาบัติกับภิกษุนั้น ถ้าได้อย่างนี้ก็เป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาดพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม ดังนี้

คำประกาศสภาคาบัติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัง สัพโพ สังโฆ สะภาคัง อาปัตติง อาปันโน, ยะทา อัญญัง ภิกขุง สุทธัง อะนาปัตติกัง ปัสสิสสะติ, ตะทา ตัสสะ สันติเก ตัง อาปัตติง ปะฏิกกะริสสะติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งปวงนี้ต้องสภาคาบัติ จักเห็นภิกษุอื่นผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเมื่อใดจักทำคืนอาบัตินั้น ในสำนักเธอเมื่อนั้น.
เมื่อสวดประกาศแล้วจึงทำอุโบสถ หรือทำปวารณาได้

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เมื่อต้องอาบัติย่อมต้องด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ
ด้วยความไม่ละอาย ๑,
ด้วยความไม่รู้ ๑,
ด้วยความสงสัยแล้วขืนทำ ๑,
ด้วยความสำคัญในของไม่ควรว่าควร ๑,
ด้วยความ สำคัญในของควรว่าไม่ควร ๑,
ด้วยความหลงลืมสติ ๑.
ภิกษุต้องอาบัติด้วยความไม่ละอายอย่างไร? คือ ภิกษุรู้อยู่ทีเดียวว่าเป็นอกัปปิยะ ฝ่าฝืน ทำการล่วงละเมิด สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า
ภิกษุแกล้งต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และถึงความลำเอียงด้วยอคติ ภิกษุเช่นนี้ เราเรียกว่า อลัชชีบุคคล (อรรถกถา พระวินัยปีฎก มหาวิภังค์)

คำปวารณาออกพรรษา (สังฆปวารณา)
พระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ พึงนั่งกระโหย่งประนมมือ สงฆ์ทั้งหมดพึงนั่งกระโหย่งประนมมือ จากนั้นพระเถระจึงกล่าวปวารณาต่อสงฆ์ดังนี้
สังฆัง อาวุโส ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ.
ทุติยัมปิ อาวุโส สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ.
ตะติยัมปิ อาวุโส สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ.
ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัย (ว่าข้าพเจ้าทำผิด) ก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าทราบ จะแก้ไขต่อไป, แม้วาระที่สอง ..ฯลฯ.., แม้วาระที่สาม ..ฯลฯ..
นอกจากนี้ ยังมีธรรมเนียมที่จะกล่าวปวารณาเพิ่มเติมอีกดังนี้

คำปวารณาเพิ่มเติม
ข้าพเจ้าขอปวารณาต่อสงฆ์ หากมีกิจอันใดเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งพระศาสนา ที่หมู่คณะประสงค์จะให้ข้าพเจ้าช่วยเหลือและอยู่ในวิสัยที่ข้าพเจ้าจะกระทำได้ ข้าพเจ้ามีความยินดีรับใช้หมู่คณะเรียกใช้ข้าพเจ้าได้
และตลอดเวลาที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกันหากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ข้าพเจ้าประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินท่านทั้งหลาย ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ข้าพเจ้าขอขมาต่อท่านทั้งหลายขอท่านทั้งหลายกรุณาให้อโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ
(รับพร้อมกันว่าสาธุ”)
ผู้ปวารณาแล้วจึงนั่งพับเพียบได้
จากนั้นให้ภิกษุที่เหลือปวารณาตามลำดับพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุมาก อาจให้ผู้ที่มีพรรษาเดียวกันปวารณาพร้อมกันก็ได้ ดังนี้
สังฆัง ภันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ.
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ,ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ.
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ.
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัย(ว่าข้าพเจ้าทำผิด)ก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าทราบ จะแก้ไขต่อไป. แม้วาระที่สอง ..ฯลฯ.., แม้วาระที่สาม..ฯลฯ..
ภิกษุผู้ปวารณาแล้วจึงนั่งพับเพียบ

คำบอกของผู้นำปวารณามาแจ้งแก่สงฆ์
๐ ถ้ามีผู้นำปวารณาของภิกษุอื่นมา ให้กล่าวบอกเมื่อถึงลำดับของภิกษุผู้มอบ
๐ ถ้าผู้นำปวารณามาอ่อนพรรษากว่าภิกษุผู้มอบ ให้กล่าวบอกสงฆ์ดังนี้
อายัส๎มา ภันเต อุปฏฺฐาโก* คิลาโน สังฆัง ปะวาเรติ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะ ริสสะติ.
ทุติยัมปิ ภันเต อายัส๎มา อุปฏฺฐาโก*  คิลาโน สังฆัง ปะวาเรติ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสะติ.
ตะติยัมปิ ภันเต อายัส๎มา อุปฏฺฐาโก* คิลาโน สังฆัง ปะวาเรติ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต  อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสะติ.
( *เปลี่ยนไปตามชื่อ มคธ (ฉายา) ของภิกษุ)
ท่านเจ้าข้า ท่านอุปฏฺฐาโก* อาพาธ ได้ปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัย (ว่าท่านทำผิด) ก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวท่าน  เมื่อท่านทราบ จะแก้ไขต่อไป.
แม้วาระที่สอง ...ฯลฯ..., แม้วาระที่สาม ...ฯลฯ
๐ ถ้าผู้นำปวารณามาแก่พรรษากว่าภิกษุผู้มอบให้กล่าวบอกสงฆ์ดังนี้
อุปฏฺฐาโก* ภันเต ภิกขุ คิลาโน สังฆัง ปะวาเรติ  ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ
วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสะติ.
ทุติยัมปิ ภันเต อุปฏฺฐาโก* ภิกขุ คิลาโนสังฆัง ปะวาเรติ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง  อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสะติ.
ตะติยัมปิ ภันเต อุปฏฺฐาโก* ภิกขุ คิลาโน สังฆัง ปะวาเรติ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา, วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสะติ.
ท่านเจ้าข้า ภิกษุชื่ออุปฏฺฐาโก* อาพาธ ได้ปวารณา ต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัย (ว่าเธอทำผิด) ก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวเธอ  เมื่อเธอทราบ จะแก้ไขต่อไป.
แม้วาระที่สอง ...ฯลฯ...,;
แม้วาระที่สาม ...ฯลฯ...

คำชักผ้าป่าที่เขาทอดทิ้งไว้
อิมัง ปังสุกูละ จีวะรัง อัสสมามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ
(ผ้าบังสุกุลจีวรนี้ เป็นผ้าไม่มีเจ้าของหวงแหนย่อมถึงแก่ข้าพเจ้า)

คำชักผ้าป่าที่มีเจ้าของคอยรับพร
อิมัง วัตถัง สัสสามิกัง ปังสุกูละจีวะรัง มัยหัง ปาปุณาติ
(ผ้าบังสุกุลจีวร อันมีเจ้าของนี้ ย่อมถึงแก่ข้าพเจ้า)

พิธีลาสิกขา
๑. ภิกษุผู้ปรารถนาจะสละเพศบรรพชิต พึงแสดงอาบัติแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก่อน (ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิทิเสส พึงประพฤติวุฏฐานวิธีก่อน)
๒. จากนั้นให้ห่มไตรจีวรพร้อมสังฆาฏิ กราบพระพุทธรูป  ๓ ครั้ง
๓. กราบพระอาจารย์ ๓ ครั้ง พร้อมแจ้งความประสงค์ว่าจะลาสิกขา (ถึง ๓ ครั้ง)
๔. ประนมมือเปล่งวาจา นะโม ๓ จบ
๕. เมื่อปลงใจแน่นอนแล้ว ให้เปล่งวาจาพร้อมด้วยเจตนาที่จะลาสิกขาดังนี้
สิกขัง ปัจจักขามิ, คิหีติ มัง ธาเรถะ.
ข้าพเจ้าลาสิกขา ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็น คฤหัสถ์. (๓ หน)
๖. พระอาจารย์ชักผ้าสังฆาฏิออก ผู้ลาสิกขาพึงถอย      ออกไปเปลี่ยนเครื่องแต่งกายแล้วกลับมา กราบพระอาจารย์    ครั้ง
๗. ประนมมือ กล่าวคำอาราธนาศีล ๕
๘. เมื่อรับศีลแล้ว พระอาจารย์พึงให้โอวาท.