ขอให้ผู้ใฝ่ธรรมทุกท่านมีความสุขกายสุขใจเถิด

ศาสนพิธี ศีล


ศาสนพิธี


การตั้งนะโม

เขามีแบบอย่างมาแล้ว การให้ศีลต้องว่าเต็ม ๓ จบ
๑). นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
ครั้งที่ ๒-๓ เหมือนกัน เรียกว่า นะโม ๓ ครั้ง
การให้ศีล ๕, ศีล ๘, ศีลอุโบสถ ตอนจะจบต้องยืดเสียงหน่อย
ส่วนการให้ศีล ๑๐ นั้น ต้องว่าทำนองเสนาะ


๒). ถ้าว่าในการสวดนาค, คราวอุปสมบท, สวดกฐินและเทศน์ ต้องว่า นะโมแฝด มี ๓ ตอน คือ
๒.๑ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ
๒.๒ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
๒.๓ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.

๓). ในการสวดงานมงคล ให้ขึ้น นะโม ว่า
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.

๔). ในการสวดงานอวมงคล เช่น สวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ต้องขึ้นว่า
นะโม  ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
ระเบียบอย่างนี้ต้องรักษาไว้ และปฏิบัติต่ออย่างศิษย์มีครู ถ้าว่าตามอำเภอใจทีละจบก็ไม่ขัดข้อง แต่ขาดเชิงศิษย์มีครู


การให้ศีล

๑). ควรตั้งพัดเตรียมให้ศีล เมื่อคำอาราธนาถึง ทุติยัมปิ ผ่านไป พอจบบท ตะติยัมปิ...ยาจามะ ก็เริ่มให้ศีลติดต่อกันไป  อย่าทิ้งระยะให้ช้า

๒). การให้ศีล มายุคนี้นิยมว่าเป็นศัพท์ เช่น
- อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
- กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(โดยมากมักว่า กาเมสุมิจฉาจารา ติดกันไป ซึ่งชวนให้หมายความว่า ประพฤติผิดที่ดีงามไป ผิดความมุ่งหมายของสิกขาบท ที่ให้เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลายจึงต้องชะงักให้หมดศัพท์ที่ กาเมสุ แล้วจึงว่า มิจฉาจารา ไม่ใช่ กาเมสุมิจฉาจารา ตามที่เคยว่ากัน)

๓). ศีล ๕ จบไตรสรณาคมน์แล้ว ไม่ต้องว่า
ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง (ส่วนศีล ๘ ต้องว่า)
ถ้าคำอาราธนามีคำว่า วิสุง วิสุง คำสรุปศีลต้องว่า
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สีเลนะ สุคะติง ยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา, สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัส๎มา สีลัง วิโสธะเย.
แต่ถ้าไม่มีคำว่า วิสุง วิสุง มีแต่คำว่า ติสะระเณนะ สะหะ ... คำสรุปศีลต้องว่า
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
(พระกล่าวครั้งเดียว ผู้สมาทานกล่าวตาม ๓ ครั้ง)


การสมาทานศีล
คำอาราธนาศีล
กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย คำกราบพระ แล้วตั้งนะโม ๓ จบก่อน อาราธนาศีล หรือกล่าวถวายสิ่งของต่างๆทุกครั้ง



คำบูชาพระรัตนตรัย
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
(มะ หลายคน)
(ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้)
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
(ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้)
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ
(ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้)


คำกราบพระ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา  พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ  (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม  ธัมมัง นะมัสสามิ  (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะฆังสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
(พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์,ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, (กราบ)
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม, (กราบ)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์,) (กราบ)



ตั้งนะโม

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ  (กล่าว ๓ จบ)
(ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.)


คำอาราธนาศีล ๕

มะยัง ภันเต (วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ) ติสะระเณนะ สะหะ  ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต (วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ) ติสะระเณนะ สะหะ  ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต (วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ) ติสะระเณนะ สะหะ  ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศีล ๕ พร้อมไตรสรณคมน์ (เพื่อจะรักษาเป็นข้อๆไป). แม้ครั้งที่สอง ...ฯลฯ... แม้ครั้งที่สาม ...ฯลฯ...


คำอาราธนาศีล ๘
มะยัง* ภันเต  ติสะระเณนะ สะหะ  อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ*
ทุติยัมปิ มะยัง* ภันเต  ติสะระเณนะ สะหะ  อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ*
ตะติยัมปิ มะยัง* ภันเต  ติสะระเณนะ สะหะ  อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ*
(*ถ้าว่าคนเดียวใช้คำว่า  อะหัง  แทน  มะยัง, ยาจามิ  แทน ยาจามะ, ข้าพเจ้า แทน ข้าพเจ้าทั้งหลาย)
(ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย* ขอสมาทานศีล ๘ ประการ พร้อมทั้งไตรสรณคมน์
แม้ครั้งที่ ๒ ...ฯลฯ... แม้ครั้งที่สาม...ฯลฯ...)

คำอาราธนาศีลอุโบสถ

มะยัง* ภันเต  ติสะระเณนะ สะหะ  อัฏฐัง คะสะมันนาคะตัง  อุโปสะถัง  ยาจามะ*
ทุติยัมปิ มะยัง* ภันเต  ติสะระเณนะ สะหะ  อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ*
ตะติยัมปิ มะยัง* ภันเต  ติสะระเณนะ สะหะ  อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ*
(ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย*  ขอสมาทานศีลอุโบสถ ๘ ประการ พร้อมทั้งไตรสรณคมน์
แม้ครั้งที่ ๒ ...ฯลฯ... แม้ครั้งที่สาม...ฯลฯ...)


คำอาราธนาศีล ๕ และศีลอุโบสถ

มะยัง*  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ เอเก ติสะระเณนะ สะหะ  ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ  เอเก ติสะระเณนะ สะหะ  อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ

ทุติยัมปิ มะยัง* ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัต ถายะ  เอเก ติสะระเณนะ สะหะ  ปัญจะ สีลานิ  ยาจามะ   เอเก  ติสะระเณนะ  สะหะ  อัฏฐังคะ สะมันนาคะตัง  อุโปสะถัง  ยาจามะ

ตะติยัมปิ มะยัง* ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ  เอเก ติสะระเณนะ สะหะ  ปัญจะ สีลานิ  ยาจามะ  เอเก ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ

(ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย, พวกหนึ่งขอศีล ๕ ประการพร้อมทั้ง ไตรสรณคมน์, พวกหนึ่งขอศีลอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ พร้อมทั้งไตรสรณคมน์, เพื่อการรักษาแยกกันของแต่ละคน. แม้ครั้งที่ ๒ ..ฯลฯ..., แม้ครั้งที่ ๓ ...ฯลฯ.)


คำขอถึงไตรสรณคมน์

เมื่ออาราธนาศีลจบ พระภิกษุพึงนำกล่าวคำขอถึงไตรสรณคมน์ ให้อุบาสกอุบาสิกากล่าวตามไปทีละข้อๆ ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
(ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
(ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งระลึก)
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
(ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งระลึก)
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
(ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งระลึก)
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
(แม้วาระที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งระลึก)
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
(แม้วาระที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งระลึก)
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
(แม้วาระที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งระลึก)
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
(แม้วาระที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งระลึก)
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
(แม้วาระที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งระลึก)
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
(แม้วาระที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งระลึก)
พระภิกษุพึงกล่าวว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง (การถึงไตรสรณคมน์ สำเร็จแล้ว)
อุบาสก-อุบาสิกาพึงรับว่า  อามะ ภันเต (ขอรับ เจ้าข้า)
แล้วพึงกล่าวคำสมาทานศีลต่อไปทีละสิกขาบทพร้อมกัน สรุปดังนี้.


ศีล ๕

๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการฆ่าสัตว์)
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้)
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการพูดเท็จ)
๕. สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการเสพของมึนเมา คือ สุรา, เมรัย และสิ่งเสพย์ติดอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)


คำสรุปศีล ๕

อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ (สิกขาบท ๕ ประการ เหล่านี้)
สีเลนะ สุคะติง ยันติ, (บุคคลจะไปสู่สุคติก็เพราะศีล)
อุบาสก อุบาสิกา พึงรับว่า สาธุ
สีเลนะ โภคะสัมปะทา, (บุคคลจะถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์ก็เพราะศีล)
อุบาสก อุบาสิกา พึงรับว่า สาธุ
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, (บุคคลจะถึงพระนิพพานได้ก็เพราะศีล)
ตัส๎มา สีลัง วิโสธะเย. (เพราะฉะนั้น บุคคลพึงชำระศีลให้หมดจดสะอาด)
อุบาสก อุบาสิกา พึงรับว่า สาธุ


ศีล ๘- ศีลอุโบสถ

๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการฆ่าสัตว์)
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้)
๓. อะพรัหม๎จริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการประพฤติอันมิใช่พรหมจรรย์)
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการ     พูดเท็จ)
๕. สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการเสพของมึนเมา คือ สุรา, เมรัย และสิ่งเสพย์ติดอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)
๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล)
๗. นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฎฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากฟ้อนรำ, ขับร้อง, ประโคมดนตรี ดูการละเล่นชนิดที่เป็นข้าศึกต่อกุศล และการทัดทรงสวมใส่ประดับตกแต่งกาย ด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องผัดทาย้อมผิว)
๘. อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการนั่งนอนบนที่นอนสูงและที่นอนใหญ่)



คำสรุปศีล ๘

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ (สิกขาบท ๘ ประการเหล่านี้)
สีเลนะ สุคะติง ยันติ, (บุคคลจะไปสู่สุขติก็เพราะศีล)
อุบาสก อุบาสิกา พึงรับว่า สาธุ
สีเลนะ โภคะสัมปะทา, (บุคคลจะถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์ก็เพราะศีล)
อุบาสก อุบาสิกา พึงรับว่า สาธุ
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, (บุคคลจะถึงพระนิพพานได้ก็เพราะศีล)
ตัส๎มา สีลัง วิโสธะเย. (เพราะฉะนั้นบุคคลพึงชำระศีลให้หมดจดสะอาด)
อุบาสก อุบาสิกา พึงรับว่า สาธุ




คำสรุปศีลอุโบสถ

พระภิกษุพึงกล่าวนำให้อุบาสก-อุบาสิกากล่าวตามไปทีละวรรค ดังนี้
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง  สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้า ขอสมาทานศีลอุโบสถ อันประกอบ ไปด้วยองค์ ๘ ประการ ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ เพื่อจะรักษาไว้ให้ดี มิไห้ขาด มิให้ทำลาย ตลอดวันหนึ่งคืนหนึ่ง นับตั้งแต่เวลาวันนี้.)
จากนั้นพระภิกษุพึงกล่าวว่า

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อัชเชกัง รัตตินทิวัง อุโปสะถะวะเสนะ สาธุกัง รักขิตัพพานิ.
(พึงรักษาสิกขาบท ๘ ประการนี้ไว้ให้ดี ให้บริบูรณ์ ตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง)
อุบาสก อุบาสิกา พึงรับว่า สาธุ
จากนั้นให้พระภิกษุกล่าวคำแสดงอานิสงส์




ศีล ๕ และศีลอุโบสถ ในคราวเดียวกัน

๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการฆ่าสัตว์)
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้)
ผู้ที่สมาทานศีล ๕ พึงรับข้อกาเมสุ ฯ และผู้สมาทานศีลอุโบสถพึงรับข้อ อะพรัหม๎ฯ.
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
๓. อะพ๎รัหม๎จริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการประพฤติอันมิใช่พรหมจรรย์)
พึงเตือนว่า
ต่อไปให้รับพร้อมกันทั้งศีล ๕ และศีลอุโบสถ
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการพูดเท็จ)
๕. สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี  สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการเสพของมึนเมา คือ สุรา, เมรัย และสิ่งเสพย์ติดอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)
พึงเตือนอุบาสก-อุบาสิกา ว่า
ผู้ที่สมาทานศีล ๕ ให้หยุดอยู่เพียงเท่านี้ และผู้สมาทานศีลอุโบสถพึงรับต่อไป
๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล)
๗. นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฎฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากฟ้อนรำ, ขับร้อง, ประโคมดนตรี ดูการละเล่นชนิดเป็นข้าศึกต่อกุศล และการทัดทรงสวมใส่ประดับตกแต่งกาย ด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องผัดทาย้อมผิว)
๘. อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการนั่งนอนบนที่สูงและที่นอนใหญ่)




คำสรุปศีล ๕ รวมกับศีลอุโบสถ


พระภิกษุพึงกล่าวนำให้อุบาสก-อุบาสิกากล่าวตามไปทีละวรรค ดังนี้

อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้า ขอสมาทานศีลอุโบสถ  อันประกอบ ไปด้วยองค์ ๘ ประการ  ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้  เพื่อจะรักษาไว้ให้ดี มิไห้ขาด มิให้ทำลาย ตลอดวันหนึ่ง คืนหนึ่ง  นับตั้งแต่เวลาวันนี้.)
จากนั้นพระภิกษุพึงกล่าวว่า


อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ, อัฏฐะ จะ อุโปสะถะสีละวะเสนะ สาธุกัง กัต๎วา อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ.

(พึงรักษาสิกขาบท ๕ ประการ และพึงรักษาศีลอุโบสถ ๘ ประการนี้ไว้ให้ดี ด้วยความไม่ประมาท)
อุบาสก อุบาสิกา พึงรับว่า สาธุ

จากนั้นให้พระภิกษุกล่าวคำแสดงอานิสงส์
สีเลนะ สุคะติง ยันติ, (บุคคลจะไปสู่สุขติก็เพราะศีล)
อุบาสก อุบาสิกา พึงรับว่า สาธุ

สีเลนะ โภคะสัมปะทา, (บุคคลจะถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์ก็เพราะศีล)
อุบาสก อุบาสิกา พึงรับว่า สาธุ

สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, (บุคคลจะถึงพระนิพพานได้ก็เพราะศีล)
ตัส๎มา สีลัง วิโสธะเย. (เพราะฉะนั้นบุคคลพึงชำระศีลให้หมดจดสะอาด)
อุบาสก อุบาสิกา พึงรับว่า สาธุ




อาราธนาธรรม
คำอาราธนาธรรม (๑)
(ทำนองสรภัญญะ)


พรหุมา จ โลกาธิปตี   สมหุปติ,  กตญฺชลี  อนธิวรํ  อยาจถ,         สนฺตีธ สฺตตา  อปฺปรชกฺขชาติกา, เทเสหิ  ธมมํ อนุกมฺปิมํ ปชนฺติ.

คำอ่าน  และ  คำแปล

พรัหมา  จะ  โลกาธิปะตี  สะหัมปะติ ท้าวสหัมบดี ผู้เป็นอธิบดีแห่งโลก
กะตัญชลี  อะนะธิวะรัง  อะยาจะถะ,ได้ประคองอัญชลีทูลวิงวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดไม่มีใครยิ่งกว่า
สันตีธะ  สัตตา  อัปปะระชะกุขะชาติกา   ว่าหมู่สัตว์ในโลกนี้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยมีอยู่
เทเสหิ  ธัมมัง  อะนุกัมปิมัง  ปะชันติ ฯ   ขอพระองค์อนุเคราะห์แสดงธัมม์โปรดหมู่สัตว์นี้ด้วยเถิด.

หมายเหตุใช้อาราธนาเวลาพระแสดงธรรมและสวดงานอวมงคล เช่น งานศพเป็นต้น



ขอนั่งชะมาทิ  หย่อย