เริ่มอนัตตลักขณะสูตร
ยันตัง สัตเตหิ ทุกเขนะ เญยยัง อะนัตตะลักขะณัง,
อนัตตลักขณะอันใดอันสัตว์ทั้งหลาย พึงรู้ได้โดยยาก,
อัตตะวาทาตตะสัญญานังสัมมะเทวะ วิโมจะนัง, สัมพุทโธ ตัง ปะกาเสสิ ทิฏฐะสัจจานะ โยคินัง,
พระพุทธเจ้า ได้ทรงประกาศอนัตตลักขณะนั้น, เป็นธรรมอันปลดเปลื้อง อัตตะวาทุปาทาน, การถือมั่นด้วยอันกล่าวว่าตน, แลเป็นอัตตสัญญาความสำคัญว่าตนโดยชอบแท้, แก่เหล่าพระโยคี คือ ปัญจวัคคีย์ผู้มีสัจจะอันเห็นแล้ว,
อุตตะริง ปะฏิเวธายะ ภาเวตุง ญาณะมุต ตะมัง,
เพื่อให้เจริญญาณอันอุดมเพื่อตรัสรู้ธรรมอันยิ่ง,
ยันเตสัง ทิฏฐะธัมมานัง ญาเณนุปะปะริกขะตัง, สัพพาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสุ อะเสสะโต,
จิตของพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้นผู้มีธรรมอันได้เห็นแล้วใคร่ครวญแล้วด้วยญาณ, พ้นแล้วจากอาสวะทั้งปวง โดยไม่เหลือด้วยพระสูตรอันใด,
ตะถา ญาณานุสาเรนะ สาสะนัง กาตุมิจฉะตัง, สาธูนัง อัตถะสิทธัตถังตัง สุตตันตัง ภะณามะ เส.
เราทั้งหลาย จงสวดพระสูตรอันนั้น เพื่อสำเร็จประโยชน์แก่สาธุชนทั้งหลาย, ผู้ปรารถนาจะกระทำตามคำสอนโดยอันตามระลึกถึงญาณอย่างนั้น เทอญ.
อนัตตลักขณะสูตร
เอวัมเม สุตัง,
ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้,
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา,
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า,
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย,
เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี,
ตัต๎ระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ,
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคคีย์, ให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า,
รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, รูป (คือร่างกายนี้) เป็นอนัตตา (มิใช่ตน),
รูปัญจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ถ้ารูปนี้ จักได้เป็นอัตตา(ตน) แล้ว,
นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ,
รูปนี้ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ (ความลำบาก),
ลัพเภถะ จะ รูเป,
อนึ่ง สัตว์พึงได้ในรูปตามใจหวัง,
เอวัง เม รูปัง โหตุ, เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ,
ว่ารูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด, รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย,
ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อะนัตตา,
ก็เพราะเหตุใดแล ภิกษุทั้งหลาย รูปจึงเป็นอนัตตา,
ตัส๎มา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ,
เพราะเหตุนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
นะ จะ ลัพภะติ รูเป,
อนึ่ง สัตว์ย่อมไม่ได้ในรูป ตามใจหวัง,
เอวัง เม รูปัง โหตุ, เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ,
ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด, รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย,
เวทะนา อะนัตตา,
เวทนา (คือความรู้สึกอารมณ์) เป็นอนัตตา,
เวทะนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว,
นะยิทัง เวทะนาอาพา ธายะ สังวัตเตยยะ,
เวทนานี้ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ,
อนึ่ง สัตว์พึงได้ในเวทนาตามใจหวัง,
เอวัง เม เวทะนา โหตุ, เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ,
ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด, เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย,
ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อะนัตตา,
ก็เพราะเหตุใดแล ภิกษุทั้งหลาย เวทนาจึงเป็นอนัตตา,
ตัส๎มา เวทะนา อาพาธายะ สังวัตตะติ,
เพราะเหตุนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
นะ จะ ลัพภะติ เวทะนายะ,
อนึ่ง สัตว์ย่อมไม่ได้ในเวทนาตามใจหวัง,
เอวัง เม เวทะนา โหตุ, เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ,
ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด, เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย,
สัญญา อะนัตตา,
สัญญา (คือความจำ) เป็นอนัตตา,
สัญญา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว,
นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ,
สัญญานี้ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
ลัพเภถะ จะ สัญญายะ,
อนึ่ง สัตว์พึงได้ในสัญญาตามใจหวัง,
เอวัง เม สัญญา โหตุ, เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ,
ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด, สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย,
ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว สัญญา อะนัตตา,
ก็เพราะเหตุใดแล ภิกษุทั้งหลาย สัญญาจึงเป็นอนัตตา,
ตัส๎มา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ,
เพราะเหตุนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
นะ จะ ลัพภะติ สัญญายะ,
อนึ่งสัตว์ย่อมไม่ได้ในสัญญาตามใจหวัง,
เอวัง เม สัญญา โหตุ, เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ,
ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด, สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย,
สังขารา อะนัตตา,
สังขารทั้งหลาย (คือสภาพที่เกิดกับใจปรุงใจให้ดีบ้าง ชั่วบ้าง) เป็นอนัตตา,
สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ถ้าสังขารทั้งหลายนี้ จักได้เป็นอัตตาแล้ว,
นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัต เตยยุง,
สังขารทั้งหลายนี้ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ,
อนึ่ง สัตว์พึงได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง,
เอวัง เม สังขารา โหนตุ, เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ,
ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด, สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย,
ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อะนัตตา,
ก็เพราะเหตุใดแล ภิกษุทั้งหลายสังขารทั้งหลายจึงเป็นอนัตตา,
ตัส๎มา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ,
เพราะเหตุนั้นสังขารทั้ง หลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ,
อนึ่งสัตว์ย่อมไม่ได้ ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง,
เอวัง เม สังขารา โหนตุ, เอวัง เม สังขารา มาอะเหสุนติ,
ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด, สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย,
วิญญาณัง อะนัตตา,
วิญญาณ (คือใจ) เป็นอนัตตา,
วิญญาณัญ จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ถ้าวิญญาณนี้ จักได้เป็นอัตตาแล้ว,
นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ,
วิญญาณนี้ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
ลัพเภถะ จะ วิญญา เณ,
อนึ่ง สัตว์พึงได้ในวิญญาณตามใจหวัง,
เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ, เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ,
ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด, วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย,
ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว วิญญาณัง อะนัตตา,
ก็เพราะเหตุใดแล ภิกษุทั้งหลายวิญญาณจึงเป็นอนัตตา,
ตัส๎มา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ,
เพราะเหตุนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
นะ จะ ลัพภะติ วิญญา เณ,
อนึ่งสัตว์ย่อมไม่ได้ในวิญญาณตามใจหวัง,
เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ, เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ,
ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด, วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย,
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว,
ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย,
รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ,
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง,
อะนิจจัง ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เที่ยง,
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ,
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า,
ทุกขัง ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นทุกข์,
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง,
ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
ควรหรือเพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ,
ว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา,
โน เหตัง ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความพิจารณาเห็นอย่างนั้นไม่ควร,
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว,
ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย,
เวทะนา นิจจา วา อะนิจจา วาติ,
เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง,
อะนิจจา ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เที่ยง,
ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ,
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า,
ทุกขัง ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นทุกข์,
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง,
ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
ควรหรือเพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ,
ว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา,
โน เหตัง ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความพิจารณาเห็นอย่างนั้นไม่ควร,
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว,
ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย,
สัญญา นิจจา วา อะนิจจา วาติ,
สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง,
อะนิจจา ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เที่ยง,
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ,
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า,
ทุกขัง ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นทุกข์,
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง,
ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
ควรหรือเพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ,
ว่านั่นของเรา นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นตนของเรา,
โน เหตัง ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความพิจารณาเห็นอย่างนั้นไม่ควร,
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว,
ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย,
สังขารา นิจจา วา อะนิจจา วาติ,
สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง,
อะนิจจา ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เที่ยง,
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ,
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า,
ทุกขัง ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นทุกข์,
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง,
ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
ควรหรือเพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ,
ว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา,
โน เหตัง ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความพิจารณาเห็นอย่างนั้นไม่ควร,
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว,
ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย,
วิญญาณัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ,
วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง,
อะนิจจัง ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เที่ยง,
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ,
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า,
ทุกขัง ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นทุกข์,
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง,
ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
ควรหรือเพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ,
ว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา,
โน เหตัง ภันเต,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความพิจารณาเห็นอย่างนั้นไม่ควร,
ตัส๎มา ติหะ ภิกขะเว,
เพราะเหตุนั้นแลภิกษุทั้งหลาย,
ยังกิญจิ รูปัง,
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง,
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี,
อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา,
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี,
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา,
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี,
หีนัง วา ปะณีตัง วา,
เลวก็ดี ประณีตก็ดี,
ยันทูเร สันติเก วา,
อันใดมีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี,
สัพพัง รูปัง,
รูปทั้งหมดก็เป็นสักว่ารูป,
เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ,
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้,
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ, ตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น,
ยา กาจิ เวทะนา,
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา,
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี,
อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา,
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี,
โอฬาริกา วา สุขุมา วา,
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี,
หีนา วา ปะณีตา วา,
เลวก็ดี ประณีตก็ดี,
ยา ทูเร สันติเก วา,
อันใดมีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี,
สัพพา เวทะนา,
เวทนาทั้งหมดก็เป็นสักว่า เวทนา,
เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ,
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเราดังนี้,
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ, ตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น,
ยา กาจิ สัญญา,
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา,
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี,
อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา,
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี,
โอฬาริกา วา สุขุมา วา,
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี,
หีนา วา ปะณีตา วา,
เลวก็ดี ประณีตก็ดี,
ยา ทูเร สันติเก วา,
อันใดมีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี,
สัพพา สัญญา,
สัญญาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสัญญา,
เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ,
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเราดังนี้,
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ, ตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น,
เยเกจิ สังขารา,
สังขารทั้งหลายเหล่าใด เหล่าหนึ่ง,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา,
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี,
อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี,
โอฬาริกา วา สุขุมา วา,
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี,
หีนา วา ปะณีตา วา,
เลวก็ดี ประณีตก็ดี,
ยัน ทูเร สันติเก วา,
อันใดมีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี,
สัพเพ สังขารา,
สังขารทั้งหลายทั้งหมดก็เป็นสักว่าสังขาร,
เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ,
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเราดังนี้,
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ, ตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น,
ยังกิญจิ วิญญาณัง,
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง,
อะตีตานาคะตะปัจจุป ปันนัง,
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี,
อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา,
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี,
โอฬาริกา วา สุขุมัง วา,
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี,
หีนัง วา ปะณีตัง วา,
เลวก็ดี ประณีตก็ดี,
ยันทูเร สันติเก วา,
อันใดมีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี,
สัพพัง วิญญาณัง,
วิญญาณทั้งหมด ก็เป็นสักว่า วิญญาณ,
เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ,
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเราดังนี้,
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ, ตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น,
เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุต๎วา อะริยะสาวะโก,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว มาเห็นอยู่อย่างนี้,
รูปัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป,
เวทะนายะปิ นิพพิน ทะติ,
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา,
สัญญายะปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา,
สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขารทั้งหลาย,
วิญญาณัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ,
นิพพินทัง วิรัชชะติ,
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด,
วิราคา วิมุจจะติ,
เพราะคลายกำหนัด จิตก็พ้นจากความถือมั่น,
วิมุตตัส๎มิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ,
เมื่อจิตพ้นแล้วก็เกิดญาณรู้ว่าเราพ้นแล้ว ดังนี้,
ขีณา ชาติ วุสิตัง พรัหม๎จะริยัง กะตัง กะระณียัง, นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชา นาตีติ,
อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำเราได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นอีก เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี,
อิทะมะโวจะ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว,
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง,
พระภิกษุปัญจวัคคีย์, ก็มีใจยินดีเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน,
ก็แหละเมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่,
ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ ฯ
จิตของพระภิกษุปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย, ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานแล.