ใช้สวดคืนเนสัชชิกก่อนเวียนเทียน
บูชาพระรัตนตรัย (นั่งสวด)
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว,
ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม คือ ศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว,
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์คือผู้ทรงธรรมวินัย, ซึ่งเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด, เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว,
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง, อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งซึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า, พร้อมทั้งพระสัทธรรม, และพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลาย, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้, ข้าพเจ้าได้ยกขึ้นประดิษฐานไว้ดีแล้วในที่อันสมควรอย่างยิ่งเช่นนี้,
สาธุโน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ องค์นั้น, แม้ปรินิพพานนานแล้วก็ตาม, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, ซึ่งยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่สาธุชนทั้งหลาย,
ปัจฉิมา ชะนะตา นุกัมปะมานะสา, อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
ขอจงรับเครื่องสักการะบรรณาการ, ของคนยากทั้งหลายเหล่านี้ด้วย, เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชุมชนผู้เกิดแล้วในภายหลังด้วย,
อัม๎หากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
เพื่อเป็นประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, สิ้นกาลนานเทอญ.
วันทาขอขมาพระ
วันทามิ พุทธัง สัพพะเม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,
วันทามิ ธัมมัง สัพพะเม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,
วันทามิ สังฆัง สัพพะเม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,
วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะเม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,
วันทามิ คะรุ อุปัชฌายาจาริยะ คุณัง สัพพะเม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,
วันทามิ ภันเต ภะคะวา โลกะนาถัง อะตีตัง เม โทสัง อะนาคะตัง เม โทสัง ปัจจุปันนัง เม โทสัง
ขะมะถะ เม ภันเต,
สาธุ สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
คำไหว้พระ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
ข้าพเจ้าอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว,
ธัมมัง นะมัสสามิ,
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม, (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะฆังสังโฆ,
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว,
สังฆัง นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์, (กราบ)
มาตาปิตุคุณัง อะหัง วันทามิ,
ข้าพเจ้ากราบวันทาบิดามารดา ผู้มีพระคุณโดยความเคารพ, (กราบ)
คะรุอุปัชฌายาจาริยะคุณัง อะหัง วันทามิ.
ข้าพเจ้ากราบวันทา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณโดยความเคารพ. (กราบ)
(ลุกขึ้น เดินเวียนเทียน)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอสิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะ ปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
(เดินเวียนเทียน ๓ รอบ)
ยืนสวดหน้าพระพุทธรูป
บูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม, สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวกะสังโฆ, ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง, อิเมหิ สักกาเรหิ, ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ, สาธุโน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ, ปัจฉิมาชะนะตา นุกัมปะมานะสา, อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ, อัม๎หากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
วันทาขอขมาพระ
วันทา-มิ พุทธัง สัพ-พะเม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,
วันทา-มิ ธัมมัง สัพ-พะเม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,
วันทา-มิ สังฆัง สัพ-พะเม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,
วันทา-มิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพ-พะเม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,
วันทา-มิ คะรุ อุปัชฌายาจาริยะ คุณัง สัพ-พะเม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,
วันทา-มิ ภันเต ภะคะวา โลกะนาถัง อะตีตัง เม โทสัง อะนาคะตัง เม โทสัง ปัจจุปันนัง เม โทสัง
ขะมะถะ เม ภันเต,
สาธุ สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
คำไหว้พระ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
ข้าพเจ้าอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว,
ธัมมัง นะมัสสามิ,
ข้าพเจ้า นมัสการพระธรรม, (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะฆังสังโฆ,
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว,
สังฆัง นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ)
ธรรมที่นักบวชและผู้ปฏิบัติ
ควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ อย่าง
๑. บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว, อาการกิริยาใดๆของสมณะ, เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ
๒. การเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น, เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย
๓. อาการกายวาจาอย่างอื่น, ที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่แต่เพียงเท่านี้
๔. ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเองได้หรือไม่
๕. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่
๖. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น
๗. เรามีกรรมเป็นของๆตัวเราทำดีจักได้ดีทำชั่วจักได้ชั่ว
๘. วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
๙. เรายินดีในที่สงัดหรือไม่
๑๐. คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่ เก้อเขิน ในเวลาที่เพื่อนพรหมจรรย์มาถาม เมื่อภายหลัง
หลักตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ
เย จะโข ตะวัง โคตะมิ ธัมเม ชาเนยยาสิ,
ดูก่อนพระนางโคตรมี ก็ท่านพึงรู้ซึ่งธรรมเหล่าใดแล,
อิเม ธัมมา วิราคายะ สังวัตตันติ,;
ว่าธรรมเหล่านี้, เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด,
โน สะราคายะ,
หาเป็นไปเพื่อความกำหนัดไม่,
วิสังโยคายะ สังวัตตันติ,
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความปราศจากความประกอบทุกข์,
โน สัง โยคายะ,
หาเป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ไม่,
อะปะจะยายะ สังวัตตันติ,
ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความไม่สั่งสมกองกิเลส,
โน อาจะยายะ,
หาเป็นไปเพื่อสั่งสมกองกิเลสไม่,
อะปิจฉะตายะ สังวัตตันติ,
หาเป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย,
โน มะหิจฉะตายะ,
หาเป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ไม่,
สันตุฏฐิยา สังวัตตันติ,
ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสันโดษ,
โน อะสันตุฏฐิยา,
หาเป็นไปเพื่อความไม่สันโดษไม่,
ปะวิเวกายะ สังวัตตันติ,
ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ,
โน สังคะณิกายะ,
หาเป็นไป เพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะไม่,
วิริยารัมภายะ สังวัตตันติ,
ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร,
โน โกสัชชายะ,
หาเป็นไป เพื่อความเกียจคร้านไม่,
สุภะระตายะ สังวัตตันติ,
ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย,
โน ทุพภะระตายะ,
หาเป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยากไม่,
เอกังเสนะ โคตะมิ ธาเรยยะสิ,
ดูก่อนนางโคตรมีท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนเดียว,
เอโส ธัมโม เอโส วินะโย เอตัง สัตถุสาสะนันติ,
ว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัย. นี่เป็นสัตถุศาสนา,
อิทะมะโวจะ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้จบลง,
อัตตะมะนา มะหาปะชาปะติ โคตะมี,
พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ก็มีใจยินดี,
ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทีติ.
เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
อุปกิเลส ๑๖
(เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง)
๑. อะภิชฌาวิสะมะโลโภ,
ความโลภเพ่งเล็งอยากได้ของเขา,
๒. โทโส,
ความประทุษร้ายเขา,
๓. โกโธ,
ความโกรธเคืองเขา,
๔. อุปะนาโห,
ความผูกเวรหมายมั่นกัน,
๕. มักโข,
ความลบหลู่ดูถูกเขา,
๖. ปะลาโส,
ความยกตัวขึ้นเทียมเขา,
๗. อิสสา,
ความริษยาเขา,
๘. มัจฉะริยัง,
ความตระหนี่เหนียวแน่น เกียดกัน หวงข้าวของและวิชาความรู้ ที่อยู่ที่อาศัย,
๙. มายา,
ความเป็นคนเจ้าเล่ห์เจ้ากล,
๑๐. สาเถยยัง,
ความโอ้อวดตัวให้ยิ่งกว่าคุณที่มีอยู่,
๑๑. ถัมโภ,
ความแข็งกระด้างดื้อดึง, เมื่อเขาสั่งสอนว่ากล่าวโดยธรรมโดยชอบ,
๑๒. สารัมโภ,
ความปรารภไม่ยอมตาม, หาเหตุผลมาอ้าง ทุ่มเถียงต่างๆ, เมื่อขณะเขาว่ากล่าวโดยธรรมโดยชอบ,
๑๓. มาโน,
ความเย่อหยิ่งถือเราถือเขา ถือตัว ถือตน,
๑๔. อะติมาโน,
ความดูถูกล่วงเกินผู้อื่น,
๑๕. มะโท,
ความเมาหลงในร่างกายที่ทรุดโทรมด้วยความชรา มีอยู่ทุกๆ วัน, มาสำคัญว่ายังหนุ่มยังสาวอยู่ประมาทไป, และเมาหลงในร่างกายที่ป่วยไข้อยู่เป็นนิจ, ต้องกินยาคือข้าวน้ำทุกเช้าค่ำ, มาสำคัญว่าไม่มีโรค เป็นสุขสบาย ประมาทไป, และเมาหลงในชีวิตที่เป็นของไม่เที่ยง, พลันดับไปดังประทีปจุดไว้ในที่แจ้งฉะนั้น, มาสำคัญว่ายังไม่ตายประมาทไป,
๑๖. ปะมาโท.
ความเมามัวทั่วไป, อารมณ์อันใดที่น่ารัก ก็ไปหลงรักอารมณ์นั้น, อารมณ์อันใดที่น่าชัง ก็ไปหลงชิงชัง โกรธต่ออารมณ์เหล่านั้น.
บรรจบเป็นอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ ๑๖ ข้อ จิตเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสข้อใดข้อหนึ่งดังว่ามานี้แล้ว, จิตนั้นล้วนเป็นบาปอกุศลหมดทั้งสิ้น.