ขอให้ผู้ใฝ่ธรรมทุกท่านมีความสุขกายสุขใจเถิด

ทำวัตรเย็น, ชุมนุมเทวดา, สมาทานศีล



ทำวัตรเย็น
บูชาพระรัตนตรัย
ก่อนทำวัตรเย็น
ภิกษุ-สามเณรทุกรูปกราบผู้เป็นประธาน ๓ ครั้ง


โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว,

ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม คือ ศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว,

สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์ คือ ผู้ทรงธรรมวินัย, ซึ่งเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด, เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว,

ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง, อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, พร้อมทั้งพระสัทธรรม, และพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลาย, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้, ข้าพเจ้าได้ยกขึ้นประดิษฐานไว้ดีแล้วในที่อันสมควรอย่างยิ่งเช่นนี้,

สาธุโน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, แม้ปรินิพพานนานแล้วก็ตาม, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, ซึ่งยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่สาธุชนทั้งหลาย,

ปัจฉิมา ชะนะตา นุกัมปะมานะสา, อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
ขอจงรับเครื่องสักการะบรรณาการ, ของคนยากทั้งหลายเหล่านี้ด้วย, เพื่อ อนุเคราะห์แก่ประชุมชน ผู้เกิดแล้วในภายหลังด้วย,

อัม๎หากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
เพื่อเป็นประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, สิ้นกาลนานเทอญ.


คำไหว้พระ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
ข้าพเจ้าอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, (กราบ)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว,

ธัมมัง นะมัสสามิ,
ข้าพเจ้า นมัสการพระธรรม, (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะฆังสังโฆ,
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว,

สังฆัง นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ)


ปุพพะภาคะนะมะการ
(ผู้เป็นหัวหน้านำดังนี้)

หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต
ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อม
อันเป็นส่วนเบื้องต้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น,
อะระหะโต,
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทธัสสะ.
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
(กล่าว ๓ จบ)


๑.พุทธานุสสะติ
(ผู้เป็นหัวหน้านำดังนี้)

หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำซึ่งนัยคือความตามระลึกถึง
พระพุทธเจ้าเถิด  
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)


ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า,

อิติปิ โส ภะคะวา,
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,

อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส,

สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,

สุคะโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,

โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,

สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,

พุทโธ,
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,

ภะคะวา ติ.
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.


๒.พุทธาภิคีติ
(ผู้เป็นหัวหน้านำดังนี้)

หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถาพรรณนา
เฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)


พุทธ๎วาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ, มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณเป็นต้น,

สุทธาภิ ญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
มีพระองค์ อันประกอบ ด้วยพระญาณและพระกรุณาอันบริสุทธิ์,

โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
พระองค์ใด ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน, ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน,

วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์, ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า,

พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด, เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย,

ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น, อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่
หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า,

พุทธัสสาหัส๎มิ ทาโส(ทาสี) วะพุทโธ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,

พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,

พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า,

วันทันโตหัง(ตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ จักประพฤติตาม, ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,

พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้,

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา,
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น,

(กราบขอขมา)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,

พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง,
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระพุทธเจ้า,

พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.
เพื่อการสำรวมระวังในพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป.

โทษนี้ มิได้เป็นการขอล้างบาป, เป็นเพียงการเปิดเผยตัวเอง, และ คำว่าโทษในบทขอให้งดในที่นี้มิได้หมายถึงกรรม, หมายเพียงโทษเล็กน้อยซึ่งเป็น ส่วนตัวระหว่างกันที่พึงอโหสิกันได้, การขอขมาชนิดนี้ สำเร็จผลได้ ในเมื่อผู้ขอตั้งใจทำจริงๆ, และเป็นเพียงศีลธรรม หรือสิ่งที่ควรประพฤติ.


๓. ธัมมานุสสะติ
(ผู้เป็นหัวหน้านำดังนี้)

หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำซึ่งนัยคือความตามระลึกถึง
พระธรรมเถิด  
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว,

สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง,

อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และ ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,

เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า, ท่านจงมาดูเถิด,

โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ.
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน, ดังนี้.



๔. ธัมมาภิคีติ
(ผู้เป็นหัวหน้านำดังนี้)

หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถาพรรณนา
เฉพาะ พระธรรมเถิด   
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)

ส๎วากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบ ด้วยคุณ, คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น,

โย มัคคะปากะปะริยัตติ วิโมกขะเภโท,
เป็นธรรมอันจำแนกเป็น มรรค ผล ปริยัติ และ นิพพาน,

ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม, จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว,

วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะ เมตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น, อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด,

ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระธรรมใด, เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย,

ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น, อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า,

ธัมมัสสาหัส๎มิ ทาโส(ทาสี) วะธัมโม เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,

ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,

ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม,

วันทันโตหัง(ตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตามซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา,

ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้,

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา,
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น,


(กราบขอขมา)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,

ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง,
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม,

ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม.
เพื่อการสำรวมระวังในพระธรรมในกาลต่อไป.

บทขอให้งดโทษนี้ มิได้เป็นการขอล้างบาป, เป็นเพียงการเปิดเผยตัวเอง, และคำว่าโทษในที่นี้มิได้หมายถึงกรรม, หมายเพียงโทษเล็กน้อยซึ่งเป็น ส่วนตัวระหว่างกันที่พึงอโหสิกันได้, การขอขมาชนิดนี้ สำเร็จผลได้ ในเมื่อผู้ขอตั้งใจทำจริงๆ, และเป็นเพียงศีลธรรม หรือสิ่งที่ควรประพฤติ.


๕. สังฆานุสสะติ
(ผู้เป็นหัวหน้านำดังนี้)

หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำซึ่งนัยคือความตาม
ระลึกถึงพระสงฆ์เถิด   
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว,

ญายะปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว,

ยะทิทัง,
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ,

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียง ตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ,

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,

อาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา,

ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ,

ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,

อัญชลีกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ.
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.


๖. สังฆาภิคีติ
(ผู้เป็นหัวหน้านำดังนี้)

หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา
พรรณนาเฉพาะพระสงฆ์เถิด    
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)


สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม, ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดีเป็นต้น,

โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละ สังฆะเสฏโฐ,;
เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคล อันประเสริฐแปดจำพวก,

สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
มีกายและจิตอันอาศัยธรรม, มีศีลเป็นต้นอันบวร,

วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง,
ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น, อันบริสุทธิ์ด้วยดี,

สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระสงฆ์หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย,

ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น, อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า,

สังฆัสสาหัส๎มิ ทาโส(ทาสี) วะสังโฆ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์, พระสงฆ์เป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า,

สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,

สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์,

วันทันโตหัง(ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโส(เส) ปะฏิปันนะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ จักประพฤติตาม, ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา,

สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้,

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา,
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น,

(กราบขอขมา)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,

สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง,
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์,

สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ.
เพื่อการสำรวมระวังในพระสงฆ์ในกาลต่อไป.

บทขอให้งดโทษนี้ มิได้เป็นการขอล้างบาป, เป็นเพียงการเปิดเผยตัวเอง, และคำว่าโทษในที่นี้มิได้หมายถึงกรรม, หมายเพียงโทษเล็กน้อยซึ่งเป็น ส่วนตัวระหว่างกันที่พึงอโหสิกันได้, การขอขมาชนิดนี้ สำเร็จผลได้ ในเมื่อผู้ขอตั้งใจทำจริงๆ, และเป็นเพียงศีลธรรม หรือสิ่งที่ควรประพฤติ.


ถ้ามีสามเณรทำวัตรอยู่ด้วย
ให้สามเณรทุกรูปพึงสวด สามเณรสิกขา
สามเณรสิกขาศีล ๑๐ ประการ
(ผู้เป็นหัวหน้าสามเณรนำต่อไปว่า)

หันทะ มะยัง ทะสะสิกขา ปะทะ ปาฐัง ภะณามะ เส
(แล้วรับพร้อมกันว่า)


อะนุญญาสิ โข ภะคะวา, สามะเณรานัง ทะสะ สิกขาปะ ทานิ เตสุ จะ สามะเณเรหิ สิกขิตุง,
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงอนุญาตแล้วแล, ซึ่งสิกขาบท ๑๐ ประการ แก่สามเณรทั้งหลาย, เพื่อให้สามเณรทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท ๑๐ ประการ เหล่านี้คือ,

ปาณาติปาตา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์ ที่มีชีวิต,

อะทินนาทานา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้โดยอาการขโมย,

อะพ๎รัห๎มะจะริยา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติอันมิใช่พรหมจรรย์,

มุสาวาทา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง,

สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย, อันเป็นที่ตั้งของความประมาท,

วิกาละโภชะนา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้วไป จนตลอดรุ่งราตรี,

นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการละเล่นต่างๆ, ชนิดที่เป็นข้าศึกต่อกุศล,

มาลาคันธะ วิเลปะนะ ธาระนะ มัณฑะนะ, วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการทัดทรงสวมใส่, การประดับตกแต่งตนด้วยพวงมาลา, ด้วยเครื่องกลิ่นและเครื่องผัดทา,

อุจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการนั่งนอนบนที่นอนสูง, และที่นอนใหญ่, ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี,

ชาตะ รูปะ ระชะตะ ปะฏิคคะหะนา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการรับเงินและทอง, หรือยินดีในเงินและทองที่เขาเก็บไว้ เพื่อตน,

อิมานิ ทะสะสิกขา ปะทานิ สะมาทิยามิ.
ข้าพเจ้าขอสมาทานศีลสิกขาบท ๑๐ ประการนี้ด้วยดีเทอญ.



นาสะนังคะ ๑๐ ประการ
(ผู้เป็นหัวหน้านำต่อไปว่า)
หันทะ มะยัง ทะสะนาสะนัง ภะนามะ เส
(แล้วรับพร้อมกันว่า)


อะนุญญาสิ โข ภะคะวา, ทะสะหิ อังเคหิ, สะมันนาคะตัง สามะเณรัง นาเสตุง,
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงอนุญาตแล้วแล, ให้สามเณร ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการ ให้ฉิบหาย,

กะตะเมหิ ทะสะหิ,
องค์ ๑๐ ประการนั้นเป็นอย่างไร,

ปาณาติปาตี โหติ,
คือสามเณรเป็นผู้ฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต,

อะทินนาทายี โหติ,
เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้โดยอาการขโมย,

อะพ๎รัห๎มะจารี โหติ,
เป็นผู้ประพฤติ อันมิใช่พรหมจรรย์,

มุสาวาที โหติ,
เป็นผู้พูดไม่จริง,

มัชชะปายี โหติ,
เป็นผู้ดื่มน้ำเมา,

พุทธัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ,
เป็นผู้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า,

ธัมมัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ,
เป็นผู้กล่าวติเตียนพระธรรม,

สังฆัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ,
เป็นผู้กล่าวติเตียนพระสงฆ์,

มิจฉาทิฏฐิโก โหติ,
เป็นผู้มีความเห็นผิด,

ภิกขุณี ทูสะโก โหติ,
เป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี,

อะนุญญาสิ โข ภะคะวา, อิเมหิ ทะสะหิ อังเคหิ, สะมันนาคะตัง สามะเณรัง นาเสตุนติ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงอนุญาตแล้วแล, ให้สามเณร ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการนี้ให้ฉิบหายเสีย.


ทัณฑกรรม ๕ ประการ
(ผู้เป็นหัวหน้านำต่อไปว่า)

หันทะ มะยัง ฑัณทะกัมมัง ภะณามะ เส
(แล้วรับพร้อมกันว่า)


อะนุญญาสิ โข ภะคะวา, ปัญจะหิ อังเคหิ สะมันนาคะ ตัสสะสามะเณรัสสะ ทัณฑะ กัมมังกาตุง,
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงอนุญาตแล้วแล, เพื่อกระทำการลงโทษ แก่สามเณร ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ,

กะตะเมหิ ปัญจะหิ,
องค์ ๕ ประการนั้นเป็นอย่างไร,

ภิกขูนัง อะลาภายะ ปะริสักกะติ,
คือ สามเณรย่อมพากเพียรเพื่อไม่ให้ได้ลาภของภิกษุทั้งหลาย,

ภิกขูนัง อะนัตถายะ ปะริสักกะติ,
ย่อมพากเพียรเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย,

ภิกขูนัง อะนาวาสายะ ปะริสักกะติ,
ย่อมพากเพียรเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย,

ภิกขู อักโกสะติ ปะริสักกะติ,
ย่อมด่าตัดพ้อภิกษุทั้งหลาย,

ภิกขู ภิกขูหิ เภเทติ,
ย่อมให้ภิกษุทั้งหลายแตกร้าวจากภิกษุทั้งหลาย,

อะนุญญาสิ โข ภะคะวา, อิเมหิ ปัญจะหิ อังเคหิ, สะมันนาคะตัสสะ สามะเณรัสสะ ทัณฑะกัมมัง กาตุนติ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตแล้วแล, เพื่อกระทำการลงโทษ แก่สามเณรผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ ประการเหล่านี้แล.


บทเจริญพระพุทธมนต์
ชุมนุมเทวดา


*สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัต๎รา คัจฉันตุเทวตา,
ขอเชิญเทพยดา(ที่อยู่)ในรอบจักรวาลทั้งหลาย, จงมาประชุมพร้อมกันในสถานที่นี้,

สัทธัมมัง มุนิรา ชัสสะ สุณันตุสัคคะโมกขะทัง,
จงฟัง ซึ่งพระสัทธรรมอันให้สวรรค์และนิพพาน, ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเจ้าแห่งมุนี,*
*ใช้ในงานทำบุญส่วนรวม เช่น กฐิน, ฉลองผ้าป่าสามัคคี ฯ

ผะริต๎วานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ,
ขอเชิญท่านผู้เจริญทั้งหลาย, จงมีจิตเมตตา แผ่เมตตาไว้, อย่ามีจิตฟุ้งซ่านไปอื่น, จงตั้งใจสวดพระปริตรกันเถิด,

สัคเคกาเม จะ รูเป คิริ สิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน,
ขอเชิญเหล่าเทพเจ้าซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์, ชั้นกามภพก็ดี รูปภพ ก็ดี, แลภุมเทวดาซึ่งสถิตอยู่ในวิมาน เหนือยอดเขา, แล เขาขาดก็ดี, ในอากาศก็ดี,

ทีเป รัฏเฐ จะคาเม ตะรุ วะนะคะเน เคหะวัตถุมหิเขตเต,
ในเกาะก็ดี, ในแว่นแคว้นก็ดี, ในบ้านก็ดี, ในต้นพฤกษาแลป่าชัฏก็ดี, ในเรือนก็ดี, ในที่ไร่นาก็ดี,

ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละ ถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะ นาคา,
ยักษ์ คนธรรพ์ แลนาค ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำแลบก, แลที่อันไม่เรียบราบก็ดี,

ติฏฐันตา สันติเก ยังมุนิ วะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ,
ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง, จงมาประชุมพร้อมกันในสถานที่นี้, คำใดเป็นคำของพระมุนี ผู้ประเสริฐ, ท่านสัตบุรุษทั้งหลายจงสดับคำนั้นแห่งข้าพเจ้า,

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา.
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย, กาลนี้เป็นกาลควรฟังธรรม.
(กล่าว คำว่า สาธุพร้อมกัน)


อัฏฐะสิกขาปะทะปาฐะ (ตรวจศีล)
ปุพพะภาคะนะมะการ
(ผู้เป็นหัวหน้านำดังนี้)

หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภา
คะนะมะการัง กะโรมะ เส
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อม อันเป็น
ส่วนเบื้องต้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ.
(กล่าว ๓ จบ)


สรณคมนปาฐะ
(ผู้เป็นหัวหน้านำต่อไปว่า)

หันทะ มะยัง ติสะระณะคะมะนะปาฐัง ภะณามะ เส
(แล้วรับพร้อมกันว่า)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,


อัฏฐะสิกขาปะทะปาฐะ
(ผู้เป็นหัวหน้านำต่อไปว่า)

หันทะ มะยัง อัฏฐะสิกขา ปะทะ ปาฐัง ภะณามะ เส
(แล้วรับพร้อมกันว่า)


ปาณาติปาตา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์ ที่มีชีวิต,

อะทินนาทานา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้โดยอาการขโมย,

อะพ๎รัห๎มะจะริยา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติอันมิใช่พรหมจรรย์,

มุสาวาทา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง,

สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย, อันเป็นที่ตั้งของความประมาท,

วิกาละโภชะนา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนตลอดรุ่งราตรี,

นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะ วิเลปะนะ ธาระนะ มัณฑะนะ, วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี, และดูการละเล่นต่างๆชนิดที่เป็นข้าศึกต่อกุศล, เว้นจากการทัดทรงสวมใส่ การประดับตกแต่งตนด้วยพวงมาลา, ด้วยเครื่องกลิ่นและเครื่องผัดทา,

อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการนั่งนอนบนที่นอนสูง, และที่นอนใหญ่, ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี,

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
ข้าพเจ้าขอสมาทานศีลสิกขาบท ๘ ประการ นี้ด้วย



สมณสัญญา

สะมะณา สะมะณาติ โวภิกขะเว ชะโน สัญชานาติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,มหาชนเขาย่อมรู้จักเธอทั้งหลายว่าสมณะผู้สงบๆดังนี้,

ตุม๎เห จะปะนะ เก ตุม๎เหติ ปุฏฐา สะมานา,
ก็แหละเธอทั้งหลายเล่า, เมื่อถูกถามว่าท่านเป็นอะไร,

สะมะณัม๎หาติ ปะฏิชานะถะ,
พวกเธอทั้งหลายก็ย่อมปฏิญญาว่า เราเป็นสมณะ,

ตะสังโว ภิกขะเว เอวัง สะมัญญานัง สะตัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อพวกเธอนั้นมีชื่อว่าสมณะอยู่อย่างนี้,

เอวัง ปะฏิญญาณัง สะตัง,
ทั้งปฏิญญาตัวว่า เป็นสมณะอยู่อย่างนี้,

ยา สะมะณะสามีจิปะฏิปะทา,
ข้อปฏิบัติอย่างใด เป็นความสมควรแก่สมณะ,

ตัง ปะฏิปะทัง ปะฏิปัชชิสามะ เอวัณโน,
เราจักปฏิบัติ ซึ่งข้อปฏิบัติอย่างนั้น, เมื่อความปฏิบัติของเราอย่างนี้มีอยู่,

อะยัง อัม๎หากัง สะมัญ ญาจะ สัจจะภะ วิสสะติ ปะฏิญญา จะภูตา,
ทั้งชื่อทั้งความปฏิญญาของเรานี้จักเป็นจริงได้,

เย สัญจะ มะยัง จีระระปิณฑะปาตะ เสนาสะนะ คิลานะ ปัจจะยะ เภสัชชะปะริกขาเร ปะริภุญชานะ,
เราปริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานะปัจจัย เภสัชชะบริขาร, ของทายกเหล่าใด,

เตสันเต การาอัม๎เหสุ มะหัปผะลา ภะวิสสะติ, มะหานิสังสา,
ความอุปการะเหล่านั้นของเขาในเราทั้งหลาย, จักมีผลใหญ่
มีอานิสงส์ใหญ่,

อัม๎หากัญเจวายัง ปัพพัชชา อะวัณณา ภะวิสสะติ,
อนึ่งการบรรพชาของเราก็จักไม่เป็นหมันเหมือนกัน,

สะผะลา สะอุทะระยาติ,
จักเป็นไปกับด้วยผล เป็นไปกับด้วยกำไรดังนี้,

เอวัญหิ โว ภิกขะเว สิกขิตัพพัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เธอทั้งหลายพึงศึกษาสำเหนียกอย่างนี้แล.


ทสธรรมสูตร

ทะสะ อิเม ภิกขะเว ธัมมา ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวก ขิตัพพัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรม ๑๐ ประการนี้ บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ,

กะตะเม ทะสะ,
ธรรม ๑๐ ประการนั้น เป็นอย่างไร,

๑. เววัณนิยัมหิ อัชชูปะคะโตติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวก ขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า, บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว, อาการกิริยาใดของสมณะ, เราจะต้องทำอาการกิริยานั้นๆ,

๒. ปะระปะฏิพัทธา เม ชีวิกาติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวก
ขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า,การเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น, เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย,

๓. อัญโญ เม อากัปโปกะระณีโยติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวก ขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า, อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะ ต้องทำให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้, ยังมีอยู่อีก มิใช่แต่เพียงเท่านี้,

๔. กัจจิ นุโข เม อัตตะ สีละโต นะ อุปะวะทัน ตีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวก ขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า, ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่,

๕. กัจจิ นุโข มัง อะนุวิจจะ วิญญู สะพ๎รัห๎มจารี สีละโต นะ อุปะวะทัน ตีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวก ขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า, เพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว, ติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่,

๖. สัพเพ หิเม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโวติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวก ขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น,

๗. กัมมัสสะโกม๎หิ กัมมะทายาโท, กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ
กัมมะปะฏิสะระโณ, ยัง กัมมังกะริสสามิ กัล๎ยาณังวา, ปาปะกังวา
ตัสสะ ทา ยาโท ภะวิสสามีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง
ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, เรามีกรรมเป็นของตัวเป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด, มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย, เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว, เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น,

๘. กะถัมมะ ภูตัสสะ เม รัตตินทิวา วิติปะตันตีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวก ขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า,วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้ เราทำอะไรอยู่,

๙. กัจจิ นุโขหัง สุญญาคาเร อะภิระมามีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า, เรายินดีในที่สงัดหรือไม่,

๑๐. อัตถิ นุโข เม อุตตะริมะนุสสะธัมมา, อะละมะริยาญาณะทัสสะนะวิเสโส อะธิคะโต,โสหัง ปัจฉิ เม กาเล สะพ๎รัหมะจารี หิปุฏโฐ นะมัง
กุภะวิสสามีติ, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า, คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่, ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินในเวลาที่เพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง,

อิเมโข ภิกขะเว ทะสะ ธัมมา, ปัพพะชิเตนะ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง ติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรม ๑๐ ประการนี้ บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ดังนี้แล.


กรวดน้ำตอนเย็น
(ผู้เป็นหัวหน้านำดังนี้)
หันทะ มะยัง อุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส
เชิญพวกเราทั้งหลาย จงสวดคาถาอุทิศและอธิษฐานเถิด
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)


อิมินา ปุญญะ กัมเมนะ,
ด้วยบุญนี้ อุทิศให้,

อุปัชฌายา คุณุตตะรา,
อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ,

อาจาริยูปะการา จะ,
แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน,

มาตาปิตา จะ ญาตะกา,
ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ,

สุริโย จันทิมา ราชา,
สูรย์จันทร์ แลราชา,

คุณะวันตา นะราปิ จะ,
ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ,

พรัหม๎มารา จะ อินทา จะ,
พรหมมาร และอินทราช,

โลกะปาลา จะ เทวะตา,
ทั้งทวยเทพ และโลกบาล,

ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ,
ยมราช มนุษย์มิตร,

มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ,
ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ,

สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ,
ขอให้เป็นสุขศานติ์, ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน,

ปุญญานิ ปะกะตานิ เม,
บุญผองที่ข้าพเจ้าทำ, จงช่วยอำนวยศุภผล,

สุขังจะ ติวิธัง เทนตุ,
ให้สุข สามอย่างล้น,

ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง,
ให้บรรลุถึง นิพพานพลัน,

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ,
ด้วยบุญนี้ที่เราทำ,

อิมินา อุททิเสนะ จะ,
แลอุทิศให้ปวงสัตว์,

ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ,
เราพลันได้ซึ่งการตัด,

ตัณหุปาทานะเฉทะนัง,
ตัวตัณหา อุปาทาน,

เย สันตาเน หินา ธัมมา,
สิ่งชั่ว ในดวงใจ,

ยาวะ นิพพานะโต มะมัง,
กว่าเราจะ ถึงนิพพาน,

นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ,
มลายสิ้น จากสันดาน,

ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว,
ทุก ๆ ภพที่เราเกิด,

อุชุจิตตัง สะติ ปัญญา,
มีจิตตรง และสติทั้งปัญญาอันประเสริฐ,

สัลเลโข วิริยัม๎หินา,
พร้อมทั้งความเพียรเลิศ, เป็นเครื่องขูดกิเลสหาย,

มารา ละภันตุ โนกาสัง,
โอกาสอย่าพึงมี แก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย,

กาตุญจะ วิริเยสุ เม,
เป็นช่องประทุษร้าย, ทำลายล้างความเพียรจม,

พุทธาธิปะวะโร นาโถ,
พระพุทธเจ้า ผู้บวรนาถ,

ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม,
พระธรรมเป็นที่พึ่งอันอุดม,

นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง,
พระปัจเจกะพุทธสมทบ, พระสงฆ์ที่พึ่งผยอง,

เตโสตตะมานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพนั้น,

มาโรกาสัง ละภันตุ มา,
ขอหมู่มารอย่าได้ช่อง,

ทะสะปุญญานุภาเวนะ,
ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง,

มาโร กาสัง ละภันตุ มา.
อย่าเปิดโอกาสแก่มารเทอญ.

(ขณะหยุด) ให้อธิษฐานจิตตามปรารถนา แผ่ให้เจ้ากรรมนายเวร หรือที่ได้บนตัวบวชไว้ ฯ

ข้าพเจ้า      ตั้งจิต        อุทิศผล
บุญกุศล             นี้แผ่ไป      ให้ไพศาล
ถึงบิดา               มารดา       ครูอาจารย์
ทั้งลูกหลาน        ญาติมิตร    สนิทกัน
ทั้งคนเคย           ร่วมงาน      การทั้งหลาย
มีส่วนได้            ในกุศล       ผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรม        นายเวร       และเทวัญ
ขอทุกท่าน         ได้กุศล       ผลนี้ เทอญ


บทเจริญพระกรรมฐาน
(ผู้เป็นหัวหน้านำดังนี้)

หันทะ มะยัง กัมมัฏฐานัง กะโรมะ เส
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)

ข้าพเจ้า จักเจริญ  พระกรรมฐานภาวนา

บูชาคุณพระรัตนตรัยอุดม

สร้างสมทะสะบารมีธรรม

บำเพ็ญอิทธิบาททั้งสี่

บ่มอินทรีย์ให้แก่โดยกาล

สังหารนิวรณ์ห้าให้หาย

สืบสายวิตกวิจารปีติ

สิริรวมสุขเอกัคคตา

ต่อมาให้ถึงฌานสี่

พร้อมด้วยวสีทั้งห้า

เจริญมรรคาพระอริยะสมังคี

ล้างธุลีกิเลสให้สูญ

ตัดมูลอาสวะอนุสัย

ห่างไกลสังโยชน์ทั้งปวง

ล่วงถึงประโยชน์ยิ่งใหญ่

ขอคุณพระรัตนตรัย

คุณไท้ธิราชเทวา

คุณมารดาบิดาครูอาจารย์

คุณความดีทุกประการ

จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้า

บรรเทาทุกข์ร้อนให้เหือดหาย

ทำลายมารห้าให้พินาศ

ปราศจากภยันตรายนิรันดร์

เกษมสันต์ประสบสิ่งเสมอใจ

สมดั่งมุ่งหมาย ณ กาลบัดนี้ เทอญ


เจริญพรหมวิหาร (บทแผ่เมตตา)

สัพเพ สัตตา,
สัตว์ทั้งหลาย,ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น, เราอุทิศบุญกุศลของเราให้หมดด้วยกัน,
อะเวรา,
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่า ได้มีเวรแก่กันและกันเลย,
อัพ๎ยาปัชฌา,
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้พยาบาท เบียด เบียนซึ่งกันและกันเลย,
อะโรคา,
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้ มีความเจ็บไข้ ลำบากกาย ลำบากใจเลย,
อะนีฆา,
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย,
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
จงมีความสุขกายสุขใจ,รักษาตน ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นนี้เทอญ.

คำไหว้พระ


อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
ข้าพเจ้าอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, (กราบ)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว,
ธัมมัง นะมัสสามิ,
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม, (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะฆังสังโฆ,
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว,
สังฆัง นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์, (กราบ)

มาตาปิตุคุณัง อะหัง วันทามิ,
ข้าพเจ้ากราบวันทาบิดามารดา ผู้มีพระคุณโดยความเคารพ, (กราบ)

คะรุอุปัชฌายาจาริยะคุณัง อะหัง วันทามิ.
ข้าพเจ้ากราบวันทา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณโดยความเคารพ.(กราบ)