ขอให้ผู้ใฝ่ธรรมทุกท่านมีความสุขกายสุขใจเถิด

อาทิตตปริยายสูตร



เริ่มอาทิตตปริยายสูตร


เวเนยยะทะมะโนปาเย สัพพะโส ปาระมิง คะโต, อะโมฆะวะจะโน พุทโธ อะภิญญายานุสาสะโก,
พระพุทธเจ้า ได้สำเร็จพระบารมีแล้วโดยประการทั้งปวง, พระพุทธองค์มีพระวาจาไม่เปล่าจากประโยชน์, ทรงพร่ำสอนในอุบายเครื่องฝึกเวไนยสัตว์ เพื่อความตรัสรู้ยิ่ง,
จิณณานุรูปะโต จาปิ ธัมเมนะ วินะยัง ปะชัง,
ทรงแนะนำหมู่สัตว์โดยธรรม แม้ตามสมควรแก่อุปนิสัยที่ตนสั่งสมมา,
จิณณาคคิปาริจะริยานัง, สัมโพชฌาระหะโยคินัง, ยะมาทิตตะ ปะริยายัง เทสะยันโต มะโนหะรัง,
ทรงแสดง อาทิตตปริยายอันใดเป็นเครื่องนำใจ ของพวกพระโยคีผู้ควรจะตรัสรู้, ซึ่งเป็นชฎิลเคยบำเรอไฟมา,
เต โสตาโร วิโมเจสิ อะเสกขายะ วิมุตติยา,
ได้ทรงยังพระโยคีผู้สดับเหล่านั้นให้พ้นแล้ว จากอาสวะด้วย อเสกขวิมุตติ,
ตะเถโวปะปะริกขายะ วิญญูนัง โสตุมิจฉะตัง, ทุกขะตาลักขะโณปายัง ตังสุตตันตัง ภะณามะเส.
เราทั้งหลาย จงสวดอาทิตตปริยาย อันนั้น, ซึ่งเป็นส่วนพระสูตร เป็นอุบายเครื่องกำหนดความทุกข์, เพื่อวิญญูชนทั้งหลายผู้ปรารถนาเพื่อจะฟัง โดยความใคร่ครวญอย่างนั้น เทอญ.


อาทิตตปริยายสูตร

เอวัมเม สุตัง,
ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้,
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา,
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า,
คะยายัง วิหะระติ คะยาสีเส,
เสด็จประทับอยู่ที่คยาสีสะประเทศใกล้ แม่น้ำคยา,
สัทธิง ภิกขุสะหัสเสนะ,
กับด้วยพันแห่งพระภิกษุ,
ตัต๎ระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ,
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสเตือนพระภิกษุทั้งหลายให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า,
สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน,
กิญจะ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง,
จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุ (คือนัยน์ตา) เป็นของร้อน,
รูปัง อาทิตตา,
รูปทั้งหลาย เป็นของร้อน,
จักขุงวิญญาณัง อาทิตตัง,
วิญญาณ อาศัยจักษุเป็นของร้อน,
จักขุสัมผัสโส อาทิตโต,
สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง,
แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,
เกนะ อาทิตตัง,
ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ,
เรากล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิดด้วยความแก่แล ความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับแค้นใจทั้งหลาย,
โสตัง อาทิตตัง,
โสตะ (คือหู) เป็นของร้อน,
สัททา อาทิตตา,
เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน,
โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง,
วิญญาณอาศัย โสตะเป็นของร้อน,
โสตะสัมผัสโส อาทิตโต,
สัมผัสอาศัย โสตะเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา) เกิดขึ้นเพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง,
แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,
เกนะ อาทิตตัง,
ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ,
เรากล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิด ด้วยความแก่ แลความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับแค้นใจทั้งหลาย,
ฆานัง อาทิตตัง,
ฆานะ (คือ) จมูกเป็นของร้อน,
คันธา อาทิตตา,
กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน,
ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง,
วิญญาณ อาศัย ฆานะเป็นของร้อน,
ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต,
สัมผัส อาศัย ฆานะเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
ความรู้สึกอารมณ์ (คือ เวทนา) เกิดขึ้นเพราะฆานะสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง,
แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,
เกนะ อาทิตตัง,
ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ,
เรากล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิด ด้วยความแก่แล ความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับแค้นใจทั้งหลาย,
ชิวหา อาทิตตา,
ชิวหา (คือลิ้น) เป็นของร้อน,
ระสา อาทิตตา,
รสทั้งหลายเป็นของร้อน,
ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง,
วิญญาณอาศัยชิวหาเป็นของร้อน,
ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต,
สัมผัสอาศัยชิวหาเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนี้ แม้อันใด,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง,
แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,
เกนะ อาทิตตัง,
ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ,
เรากล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิดด้วยความแก่แลความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกายด้วยความเสียใจ ด้วย ความคับแค้นใจทั้งหลาย,
กาโย อาทิตโต,
กายเป็นของร้อน,
โผฏฐัพพา อาทิตตา,
โผฏฐัพพะ (คืออารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย) เป็นของร้อน,
กายะวิญญาณัง อาทิตตัง,
วิญญาณอาศัยกายเป็นของร้อน,
กายะสัมผัสโส อาทิตโต,
สัมผัสอาศัยกายเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง,
แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,
เกนะ อาทิตตัง,
ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ,
เรากล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิด ด้วยความแก่แล ความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับแค้นใจทั้งหลาย,
มะโน อาทิตโต,
มนะ (คือใจ) เป็นของร้อน,
ธัมมา อาทิตตา,
ธรรมทั้งหลาย (คืออารมณ์ที่เกิดกับใจ) เป็นของร้อน,
มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง,
วิญญาณ อาศัย มนะเป็นของร้อน,
มะโนสัมผัสโส อาทิตโต,
สัมผัส อาศัย มนะ เป็นของร้อน,
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทยิตัง,
ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส เป็นปัจจัยนี้ แม้อันใด,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง,
แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,
เกนะ อาทิตตัง,
ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ,
เรากล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิด ด้วยความแก่แล ความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับ แค้นใจทั้งหลาย,
เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุต๎วา อะริยะสาวะโก,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว มาเห็นอยู่อย่างนี้,
จักขุส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ,
รูเปสุปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูปทั้งหลาย,
จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ อาศัยจักษุ,
จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัส อาศัยจักษุ,
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา) เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,
โสตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในโสตะ,
สัทเทสุปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเสียงทั้งหลาย,
โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ อาศัยโสตะ,
โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัส อาศัยโสตะ,
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,
ฆานัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานะ,
คันเธสุปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในกลิ่นทั้งหลาย,
ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ อาศัยฆานะ,
ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัส อาศัยฆานะ,
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้น เพราะฆานะสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,
ชิวหายะปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในชิวหา,
ระเสสุปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรสทั้งหลาย,
ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยชิวหา,
ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยชิวหา,
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะชิวหา สัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,
กายัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกาย,
โผฎฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในโผฎฐัพพะทั้งหลาย,
กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยกาย,
กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยกาย,
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,
มะนัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในมนะ,
ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในธรรมทั้งหลาย,
มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยมนะ,
มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยมนะ,
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา,
เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ,
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,
นิพพินทัง วิรัชชะติ,
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด,
วิราคา วิมุจจะติ,
เพราะคลายกำหนัด จิตก็พ้นจากความถือมั่น,
วิมุตตัส๎มิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ,
เมื่อจิตพ้นแล้วก็เกิดญาณรู้ว่าเราพ้นแล้ว ดังนี้,
ขีณา ชาติ วุสิตัง พรัหม๎ จะริยัง, กะตัง กะระณียัง, นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ,
อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ เราทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นอีก เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี,
อิทะมะโวจะ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว,
อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง,
พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็มีใจยินดี, เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อิมัส๎มิญจะปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน,
ก็แลเมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่,
ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ.
จิตของพระภิกษุพันรูปนั้นก็พ้นจากอาสวะทั้งหลาย, ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน แล.